พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยาพบว่า ในช่วงวันที่ 21-24 เมษายนนี้ บริเวณความกดอากาส สูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีน แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จึงสั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสาน 53 จังหวัด รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะอากาศแปรปรวน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่
สำหรับ 53 จังหวัดที่สุ่มเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนลูกนี้ แยกเป็นภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และสุโขทัย
ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และ อ่างทอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัดได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยองและสระแก้ว
ด้าน นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยของ 53 จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ให้ติดตามพยากรณ์อากาศ และ ประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัดรวมถึงตรวจสอบบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคง รวมถึงงดเว้นการใช้โทรศัพท์ มือถือ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดบริเวณที่โล่งแจ้ง เพราะอาจเกิดฟ้าผ่า ทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย อีกทั้งห้ามหลบพายุบริเวณใต้ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ห้ามจอดรถใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรง เพราะอาจได้รับอันตรายจากการถูกล้มทับ
สำหรับ 53 จังหวัดที่สุ่มเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนลูกนี้ แยกเป็นภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และสุโขทัย
ภาคกลาง 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และ อ่างทอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัดได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก 8 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยองและสระแก้ว
ด้าน นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยของ 53 จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ให้ติดตามพยากรณ์อากาศ และ ประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัดรวมถึงตรวจสอบบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคง รวมถึงงดเว้นการใช้โทรศัพท์ มือถือ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดบริเวณที่โล่งแจ้ง เพราะอาจเกิดฟ้าผ่า ทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย อีกทั้งห้ามหลบพายุบริเวณใต้ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง ห้ามจอดรถใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรง เพราะอาจได้รับอันตรายจากการถูกล้มทับ