นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร(สนย.กทม.) กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเจ้าของอาคารที่สร้างสร้างงานก่อสร้างไม่แล้วเสร็จในพื้นที่กว่า 70 ราย เพื่อหาทางออกหลังกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารสำหรับอาคารที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทางเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีอายุบังคับใช้ 5 ปี และได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2557 ที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่ายังมีอาคารจำนวนหนึ่งยังไม่มาดำเนินการขอต่อใบอนุญาต
กทม.จึงเตรียมเสนอรัฐบาลขยายเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ มาขออนุญาตก่อสร้างจนแล้วเสร็จ หรือขายกิจการให้ผู้อื่นดำเนินการต่อ โดยหลังจากที่ กทม.นัดหารือกับผู้ประกอบการ ล่าสุดมีเจ้าของอาคารเข้าร่วมหารือเพียงไม่กี่รายเท่านั้น บางส่วนให้เหตุผลว่าการที่ยังไม่ดำเนินการสร้างต่อ เนื่องจากไม่ทราบว่ามีกฎหมายดังกล่าว ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างอาคารต่อจนกระทั่งกฎหมายหมดอายุไป จึงทำให้เจ้าของอาคารปล่อยให้อาคารร้าง แต่ยังต้องการขายอาคารเพราะมีมูลค่าสูงถึง 400-500 ล้านบาท
ทั้งนี้ กทม.จะมีการประสานไปยังกรมที่ดินเพื่อขอตรวจสอบรายชื่อเจ้าของที่ดินและตรวจสอบเจ้าของอาคาร เพื่อแจ้งติดต่อไปโดยตรงให้เข้าร่วมประชุมชี้แจงความสำคัญหรืออำนาจหน้าที่ของกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อหาทางออกอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะสรุปความต้องการของเจ้าของอาคารทั้งหมดนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อให้ปรับแก้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด
ปัจจุบันมีอาคารร้างในพื้นที่กรุงเทพฯทั้งหมด 41 โครงการ หรือ 67 อาคาร ส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียม หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารสูง
กทม.จึงเตรียมเสนอรัฐบาลขยายเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของอาคารในพื้นที่กรุงเทพฯ มาขออนุญาตก่อสร้างจนแล้วเสร็จ หรือขายกิจการให้ผู้อื่นดำเนินการต่อ โดยหลังจากที่ กทม.นัดหารือกับผู้ประกอบการ ล่าสุดมีเจ้าของอาคารเข้าร่วมหารือเพียงไม่กี่รายเท่านั้น บางส่วนให้เหตุผลว่าการที่ยังไม่ดำเนินการสร้างต่อ เนื่องจากไม่ทราบว่ามีกฎหมายดังกล่าว ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างอาคารต่อจนกระทั่งกฎหมายหมดอายุไป จึงทำให้เจ้าของอาคารปล่อยให้อาคารร้าง แต่ยังต้องการขายอาคารเพราะมีมูลค่าสูงถึง 400-500 ล้านบาท
ทั้งนี้ กทม.จะมีการประสานไปยังกรมที่ดินเพื่อขอตรวจสอบรายชื่อเจ้าของที่ดินและตรวจสอบเจ้าของอาคาร เพื่อแจ้งติดต่อไปโดยตรงให้เข้าร่วมประชุมชี้แจงความสำคัญหรืออำนาจหน้าที่ของกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อหาทางออกอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะสรุปความต้องการของเจ้าของอาคารทั้งหมดนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อให้ปรับแก้กฎหมายให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด
ปัจจุบันมีอาคารร้างในพื้นที่กรุงเทพฯทั้งหมด 41 โครงการ หรือ 67 อาคาร ส่วนใหญ่เป็นคอนโดมิเนียม หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารสูง