ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจมีมติเห็นชอบการจัดสรรงบประมาณสำหรับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2559 ในส่วนการดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) วงเงิน 1.63 แสนล้านบาท แบ่งเป็นค่าบริการเหมารายหัว จำนวน 48 ล้านคนเศษ รายละ 3,028.94 บาท/ราย รวมวงเงินงบประมาณ 1.45 แสนล้านบาท ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอดส์ (HIV) วงเงินงบประมาณ 3,033 ล้านบาท ค่าบริการผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง 958 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการวงเงินงบประมาณ 1,490 ล้านบาท ค่าตอบแทนกำลังคนฯ วงเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท และค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงวงเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบให้ สปสช.รับเอาแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหากรณีการแบ่งเขตสุขภาพ โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต โดยเพิ่มผู้แทนหน่วยบริการจากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงงานส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมเป็น 3 คน และเพิ่มจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิด้านแพทย์หรือสาธารณสุข ด้านบริหาร ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย และด้านอื่นๆ รวมเป็น 5 คน โดยให้มีองค์ประกอบทุกภาคส่วนในการทำงานอย่างเหมาะสม ขณะที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เสนอแนะให้ สปสช.เร่งรัดการปรับปรุงกลไกติดตามและกำกับดูแลให้การบริหารจัดการกองทุนฯ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมทั้งไม่ควรมีการนำงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้เป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนไปใช้จ่ายในงบประมาณอย่างอื่นเช่น การก่อสร้างการซ่อมแซมอาคารค่าตอบแทนบุคลากรเพิ่มเติม การสนับสนุนมูลนิธิต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วต้องใช้เงินจากการบริหารจัดการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือจากงบประมาณปกติของหน่วยงานการใช้จ่ายต่างๆ จึงควรพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเรื่องสุขภาพโดยตรงเป็นหลัก
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบให้ สปสช.รับเอาแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหากรณีการแบ่งเขตสุขภาพ โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต โดยเพิ่มผู้แทนหน่วยบริการจากโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงงานส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมเป็น 3 คน และเพิ่มจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิด้านแพทย์หรือสาธารณสุข ด้านบริหาร ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย และด้านอื่นๆ รวมเป็น 5 คน โดยให้มีองค์ประกอบทุกภาคส่วนในการทำงานอย่างเหมาะสม ขณะที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เสนอแนะให้ สปสช.เร่งรัดการปรับปรุงกลไกติดตามและกำกับดูแลให้การบริหารจัดการกองทุนฯ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมทั้งไม่ควรมีการนำงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้เป็นค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนไปใช้จ่ายในงบประมาณอย่างอื่นเช่น การก่อสร้างการซ่อมแซมอาคารค่าตอบแทนบุคลากรเพิ่มเติม การสนับสนุนมูลนิธิต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วต้องใช้เงินจากการบริหารจัดการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือจากงบประมาณปกติของหน่วยงานการใช้จ่ายต่างๆ จึงควรพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชนในเรื่องสุขภาพโดยตรงเป็นหลัก