ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทเอกชน ซึ่งปัจจัยบวกดังกล่าวช่วยหนุนดัชนีแนสแด็กทะยานขึ้นเหนือระดับ 5,000 จุดเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.ปีนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 75.91 จุด หรือ +0.42% ปิดที่ 18,112.61 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 10.79 จุด หรือ +0.51% ปิดที่ 2,106.63 จุด แนสแด็ก เพิ่มขึ้น 33.73 จุด หรือ +0.68% ปิดที่ 5,011.02 จุด
ส่วนราคาทองคำเมื่อวันพุธ(15เม.ย.) ปิดบวกจากแรงช้อนซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ท่ามกลางความกังวลต่อปัญหาทางการเงินที่กรีซต้องเผชิญ
โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 8.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,201.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของสหภาพยุโรปเผยว่าการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ยังไม่เฉียดใกล้จุดที่จะปล่อยเงินกู้แก่เอเธนส์ ขณะที่รัฐบาลกรีซคร่ำครวญว่าพวกเขาอาจหมดเงินสดเร็ววันนี้หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ สถานการณ์ดังกล่าวก่อแนวโน้มแห่งการผิดนัดชำระหนี้และบางทีอาจถึงขั้นออกจากยูโรโซน
สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานเมื่อคืนนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ลดลง 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก.พ. ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ปรับลง 1.0% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการลดลงรายไตรมาสครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี 2552
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานที่สูงเกินไป
น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 3.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม
ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯรายงานว่ากำลังผลิตน้ำมันของประเทศ ลดลง 20,000 บาร์เรลต่อวันหรือร้อยละ 0.2 สู่ระดับ 9.38 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เมษายน แม้อีกด้านหนึ่งจะพบว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดที่ไม่เคยพบเห็นในช่วงเวลานี้มานานกว่า 80 ปี แต่การปรับขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นับว่าน้อยกว่าที่คาดหมายไว้
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2558 จะขยายตัวมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากอุณหภูมิที่ลดลง และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ IEA ได้ปรับทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของความต้องการน้ำมันในปี 2558 เพิ่มขึ้น 90,000 บาร์เรล/วัน เป็น 93.6 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าปี 2557 อยู่ 1.1 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จะมีความต้องการพลังงานมากขึ้น เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความอบอุ่นท่ามกลางสภาพอากาศที่คาดว่าจะหนาวเย็นขึ้น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 75.91 จุด หรือ +0.42% ปิดที่ 18,112.61 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 10.79 จุด หรือ +0.51% ปิดที่ 2,106.63 จุด แนสแด็ก เพิ่มขึ้น 33.73 จุด หรือ +0.68% ปิดที่ 5,011.02 จุด
ส่วนราคาทองคำเมื่อวันพุธ(15เม.ย.) ปิดบวกจากแรงช้อนซื้อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ท่ามกลางความกังวลต่อปัญหาทางการเงินที่กรีซต้องเผชิญ
โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 8.70 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,201.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์
เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของสหภาพยุโรปเผยว่าการเจรจาระหว่างกรีซกับเจ้าหนี้ยังไม่เฉียดใกล้จุดที่จะปล่อยเงินกู้แก่เอเธนส์ ขณะที่รัฐบาลกรีซคร่ำครวญว่าพวกเขาอาจหมดเงินสดเร็ววันนี้หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ สถานการณ์ดังกล่าวก่อแนวโน้มแห่งการผิดนัดชำระหนี้และบางทีอาจถึงขั้นออกจากยูโรโซน
สัญญาทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานเมื่อคืนนี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ลดลง 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนก.พ. ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ปรับลง 1.0% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการลดลงรายไตรมาสครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ปี 2552
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานพลังงานที่สูงเกินไป
น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 3.10 ดอลลาร์ ปิดที่ 56.39 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม
ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.89 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน กระทรวงพลังงานสหรัฐฯรายงานว่ากำลังผลิตน้ำมันของประเทศ ลดลง 20,000 บาร์เรลต่อวันหรือร้อยละ 0.2 สู่ระดับ 9.38 ล้านบาร์เรลต่อวันในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 เมษายน แม้อีกด้านหนึ่งจะพบว่าคลังน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูงสุดที่ไม่เคยพบเห็นในช่วงเวลานี้มานานกว่า 80 ปี แต่การปรับขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นับว่าน้อยกว่าที่คาดหมายไว้
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกในปี 2558 จะขยายตัวมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากอุณหภูมิที่ลดลง และการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ IEA ได้ปรับทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของความต้องการน้ำมันในปี 2558 เพิ่มขึ้น 90,000 บาร์เรล/วัน เป็น 93.6 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงกว่าปี 2557 อยู่ 1.1 ล้านบาร์เรล/วัน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จะมีความต้องการพลังงานมากขึ้น เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความอบอุ่นท่ามกลางสภาพอากาศที่คาดว่าจะหนาวเย็นขึ้น