นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปช. กล่าวถึงการประชุม สปช.เพื่ออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่างวันที่ 20 - 26 เมษายนนี้ ว่า กรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายฯ วางตัวผู้อภิปรายไว้ 5 คน ได้แก่ ตน ในฐานะประธาน จะอภิปราย 40 นาที นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ นายกิตติพงษ์ อุรพีพัฒนพงษ์ รองประธานกรรมาธิการฯ คนละ 20 นาที นายอุดม เฟื่องฟุ้ง ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการฯ 20 นาที และนายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรรมาธิการฯ 20 นาที เบื้องต้นกำหนดหัวข้อการอภิปรายในภาพรวมเกี่ยวกับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง วันที่ 17 เมษายนนี้
นายเสรี กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญจะคิดแบบเก่าที่เขียนด้วยความกลัวหรือหวังจะกีดกันบุคคลใดๆ ไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องวางหลักการให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดสำหรับประชาชนทุกคน รวมถึงการร่างกฎหมายลูกต้องกำหนดทิศทางการปฏิรูปให้ครบ มิเช่นนั้นการปฏิรูปที่ทำมาจะไม่มีความต่อเนื่อง ส่วนแนวทางการผลักดันด้วยการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยมี สนช. และ สปช. มาดำรงตำแหน่งนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้สังคมมองว่า คือการสืบทอดอำนาจ หากจะมีก็ต้องกำหนดให้บุคคลที่มาดำรงตำแหน่ง ไม่ใช่ สนช.และสปช. หรือผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป
นายเสรี กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าการยกร่างรัฐธรรมนูญจะคิดแบบเก่าที่เขียนด้วยความกลัวหรือหวังจะกีดกันบุคคลใดๆ ไม่ได้อีกต่อไป แต่ต้องวางหลักการให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดสำหรับประชาชนทุกคน รวมถึงการร่างกฎหมายลูกต้องกำหนดทิศทางการปฏิรูปให้ครบ มิเช่นนั้นการปฏิรูปที่ทำมาจะไม่มีความต่อเนื่อง ส่วนแนวทางการผลักดันด้วยการตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยมี สนช. และ สปช. มาดำรงตำแหน่งนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้สังคมมองว่า คือการสืบทอดอำนาจ หากจะมีก็ต้องกำหนดให้บุคคลที่มาดำรงตำแหน่ง ไม่ใช่ สนช.และสปช. หรือผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป