ว่าที่ ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2558 ว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2558 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่าย รายงานสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 11 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการรณรงค์ “สติ วินัย น้ำใจ ปลอดภัยสงกรานต์ สืบสานประเพณี” เกิดอุบัติเหตุแล้ว 492 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 62 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 516 คน
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 35.77 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.00 และยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.35 ส่วนใหญ่เกิดบนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 39.63 ถนนหมู่บ้าน ร้อยละ 35.37 ขณะที่ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01 น.ถึง 20.00 น. ร้อยละ 28.25
สำหรับอุบัติเหตุทางถนนรวม 3 วัน ( 9 - 11 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 1,215 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 121 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 1,281 คน จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ มี 2 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ และอำนาจเจริญ จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต มี 24 จังหวัด จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ ในช่วง 3 วัน มี 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ หนองคาย และอำนาจเจริญ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 49 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด จังหวัดละ 7 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 59 คน
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 35.77 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.00 และยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.35 ส่วนใหญ่เกิดบนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 39.63 ถนนหมู่บ้าน ร้อยละ 35.37 ขณะที่ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เวลา 16.01 น.ถึง 20.00 น. ร้อยละ 28.25
สำหรับอุบัติเหตุทางถนนรวม 3 วัน ( 9 - 11 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 1,215 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 121 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 1,281 คน จังหวัดที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ มี 2 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ และอำนาจเจริญ จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต มี 24 จังหวัด จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ ในช่วง 3 วัน มี 3 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ หนองคาย และอำนาจเจริญ จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 49 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา และร้อยเอ็ด จังหวัดละ 7 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 59 คน