นายสนิท พรหมวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ประธานแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2558 เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2558 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนน ประจำวันที่ 10 เมษายน เกิดอุบัติเหตุ 324 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 25 ราย ผู้บาดเจ็บ 348 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 25.31 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.38 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.77 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.81 บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 46.30 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 26.85 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.25 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 50.94
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,243 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,621 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 461,530 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการลดพฤติกรรมเสี่ยง 10 มาตรการ รวม 69,366 ราย โดยมีความผิดฐาน ไม่มีใบขับขี่ 20,863 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 20,271 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 16 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กระบี่ และเพชรบุรี จังหวัดละ 2 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 19 คน จังหวัดที่อุบัติเหตุเป็นศูนย์ มี 9 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครนายก บึงกาฬ สมุทรปราการ สุโขทัย หนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 54 จังหวัด และจังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บมี 11 จังหวัด
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 25.31 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.38 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 80.77 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 64.81 บนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 46.30 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 26.85 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ร้อยละ 30.25 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 50.94
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,243 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 65,621 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 461,530 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีตามมาตรการลดพฤติกรรมเสี่ยง 10 มาตรการ รวม 69,366 ราย โดยมีความผิดฐาน ไม่มีใบขับขี่ 20,863 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย 20,271 ราย จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช 16 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กระบี่ และเพชรบุรี จังหวัดละ 2 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 19 คน จังหวัดที่อุบัติเหตุเป็นศูนย์ มี 9 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครนายก บึงกาฬ สมุทรปราการ สุโขทัย หนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตมี 54 จังหวัด และจังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บมี 11 จังหวัด