น.พ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข แถลงมาตรการเตรียมความพร้อมรับมืออุบัติเหตุสงกรานต์ ปี 2558 ว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 20,000 คน บาดเจ็บมากกว่า 1 ล้านคน ต้องนอนโรงพยาบาลปีละ 4-5 แสนคน เฉพาะสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11 - 17 เมษายนปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิต 322 คน เฉลี่ยวันละ 46 คน นอนรักษาใน โรงพยาบาล 3,225 คน เฉลี่ยวันละ 460 คน ส่วนใหญ่ อายุ 15 - 30 ปี สาเหตุเมาและขับรถเร็ว ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี มีบาดเจ็บและเสียชีวิตเกือบ 1,000 คน ดังนั้นปีนี้กระทรวงฯ จึงได้เตรียม 3 มาตรการรับมือดังนี้ 1.บังคับใช้กฎหมายควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง โดยห้ามขายและห้ามดื่ม ใน 10 สถานที่ ได้แก่ ศาสนสถาน สถานบริการสาธารณสุขและร้านขายยา สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ สถานศึกษา ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส สวนสาธารณะของทางราชการ ท่าเรือ และเรือโดยสารสาธารณะทุกชนิด สถานีขนส่ง และทางสาธารณะ สถานีรถไฟและบนขบวนรถไฟ และสถานที่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ โดยจัดทีมเจ้าหน้าที่ทำงานร่วมกับตำรวจกองปราบ ในออกตรวจการกระทำความผิด ตลอด 21 วัน ทั้งก่อนและหลังเทศกาล โดยเฉพาะพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์
2.เตรียมความพร้อมสถานพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ พร้อมจัดทีมแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ ทั้งรัฐ เอกชน มูลนิธิ และอาสาสมัครต่างๆ ทั่วประเทศ 15,223 ทีม เพื่อเข้าช่วยเหลือในจุดเกิดเหตุให้ได้ใน 10 นาที และนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด รวมถึงการเตรียมความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้อง ไอ.ซี.ยู. สำรองเวชภัณฑ์ เลือดทุกหมู่เพิ่มขึ้น 2 เท่า สำรองเตียงเพิ่มอีกร้อยละ 20
และ 3.ให้อาสาสมัครร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการตั้งด่านชุมชน สกัดพฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน กระทรวงจึงได้ออกประกาศกำหนดให้พื้นที่ภายในหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เป็นเขตสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ และออกมาตรการให้รถพยาบาลขณะนำส่งผู้ป่วย ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถยนต์ในราชการ กำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทุกที่นั่งต้องมีเข็มขัดนิรภัย ไม่คุย ไม่เล่นโทรศัพท์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น โดยมาตรการนี้เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา
2.เตรียมความพร้อมสถานพยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศ พร้อมจัดทีมแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับ ทั้งรัฐ เอกชน มูลนิธิ และอาสาสมัครต่างๆ ทั่วประเทศ 15,223 ทีม เพื่อเข้าช่วยเหลือในจุดเกิดเหตุให้ได้ใน 10 นาที และนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด รวมถึงการเตรียมความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้อง ไอ.ซี.ยู. สำรองเวชภัณฑ์ เลือดทุกหมู่เพิ่มขึ้น 2 เท่า สำรองเตียงเพิ่มอีกร้อยละ 20
และ 3.ให้อาสาสมัครร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการตั้งด่านชุมชน สกัดพฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน กระทรวงจึงได้ออกประกาศกำหนดให้พื้นที่ภายในหน่วยงานสังกัดกระทรวงฯ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เป็นเขตสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ และออกมาตรการให้รถพยาบาลขณะนำส่งผู้ป่วย ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถยนต์ในราชการ กำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทุกที่นั่งต้องมีเข็มขัดนิรภัย ไม่คุย ไม่เล่นโทรศัพท์ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น โดยมาตรการนี้เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา