พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการในที่ประชุม ว่า ขณะนี้ได้มีการอภัยโทษให้ผู้ต้องโทษคดีต่างๆ เป็นนักโทษชั้นดีได้ออกจากการคุมขังแล้วจำนวน 38,000 กว่าคน สังคมบางส่วนกังวลว่านักโทษเหล่านั้นจะใช้ชีวิตอย่างไร จะกระทำผิด และกลับเข้ากรมราชทัณฑ์อีกหรือไม่ ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมายังไม่มีการสำรวจว่าคนที่เคยได้รับการอภัยโทษแล้ว กลับมาเข้าเรือนจำเหมือนเดิมหรือไม่ นายกรัฐมนตรีจึงมีนโยบายในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ความมั่นใจกับผู้ได้รับอภัยโทษ ให้มีเกียรติ มีงาน มีศักดิ์ศรี และสังคมโดยรวมต้องเกิดความสบายใจ ปลอดภัย ไม่วิตกกังวลว่าบุคคลเหล่านี้จะกลับมาทำผิด และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนอีก
อย่างไรก็ตาม เมื่อยังไม่มีกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงกำหนดขั้นการปฏิบัติ ดังนี้ ขั้นแรกให้มีการสำรวจส่งข้อมูลระหว่างกรมราชทัณฑ์ และกรมการปกครอง ว่าคนที่ได้รับอภัยโทษเป็นใคร พักอาศัยที่ใด มีงานทำหรือไม่ จากนั้นให้กระทรวงแรงงานเข้ามาช่วยเหลือ จัดหางาน อาจมีการฝึกอาชีพเพิ่มเติมร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยระยะแรกอาจจะใช้วิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยูร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมราชทัณฑ์ กรมการปกครอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้กระบวนทั้งหมดที่นายกรัฐมนตรีสั่ง สามารถดำเนินการได้ จากนั้น ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานต่างๆ สามารถเชิญบุคคลทั้งหลายที่ได้รับการอภัยโทษ มารายงานตัว เพื่อสำรวจข้อมูลประกอบอาชีพที่พักอาศัยว่าเปลี่ยนจากเดิมอย่างไร ระยะสุดท้ายให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องหารือกัน และจัดทำข้อกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับรองรับการปฏิบัติในอนาคต
อย่างไรก็ตาม เมื่อยังไม่มีกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงกำหนดขั้นการปฏิบัติ ดังนี้ ขั้นแรกให้มีการสำรวจส่งข้อมูลระหว่างกรมราชทัณฑ์ และกรมการปกครอง ว่าคนที่ได้รับอภัยโทษเป็นใคร พักอาศัยที่ใด มีงานทำหรือไม่ จากนั้นให้กระทรวงแรงงานเข้ามาช่วยเหลือ จัดหางาน อาจมีการฝึกอาชีพเพิ่มเติมร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยระยะแรกอาจจะใช้วิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยูร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมราชทัณฑ์ กรมการปกครอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้กระบวนทั้งหมดที่นายกรัฐมนตรีสั่ง สามารถดำเนินการได้ จากนั้น ใช้อำนาจของหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานต่างๆ สามารถเชิญบุคคลทั้งหลายที่ได้รับการอภัยโทษ มารายงานตัว เพื่อสำรวจข้อมูลประกอบอาชีพที่พักอาศัยว่าเปลี่ยนจากเดิมอย่างไร ระยะสุดท้ายให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องหารือกัน และจัดทำข้อกฎหมายที่ชัดเจนสำหรับรองรับการปฏิบัติในอนาคต