นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ แถลงการเตรียมความพร้อมในการจัดหางานและส่งเสริมการประกอบอาชีพรองรับผู้ต้องโทษที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 38,000 คน โดยยืนยันว่า การปล่อยตัวผู้ต้องขังจำนวน 38,000 คน ไม่ได้มีผลกระทบกับประชาชนตามที่เป็นข่าว เนื่องจากเป็นกลุ่มนักโทษที่มีความประพฤติดี มีการกำหนดหลักเกณฑ์การปล่อยตัว 3 กลุ่ม คือ กลุ่มโทษเบา กลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย กลุ่มผู้พิการและผู้เหลือเวลาโทษน้อย ประมาณ 1 ปี ที่จะได้รับการปล่อยตัวระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2558 มารวมปล่อยครั้งเดียว
ขณะเดียวกัน ในวันนี้ (7 เม.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีความห่วงใยพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ โดยนายกรัฐมนตรี ได้ให้ปรับปรุงกฎหมาย ในการมอบกระทรวงมหาดไทยติดตามดูแลผู้พ้นโทษ และกรมการจัดหางานดูแลเรื่องการหางาน ส่วนใหญ่ที่ถูกปล่อยตัวในกลุ่มคดียาเสพติด เนื่องจากผู้ต้องขังกว่าร้อยละ 70 ในเรือนจำเป็นกลุ่มนี้ รองลงมากลุ่มอาชญากรรม (ลักทรัพย์) ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 340,000 คน โดยมีผู้ต้องขังใหม่เข้าสู่เรือนจำเดือนละ 14,000 คน และถูกปล่อยตัวเดือนละ 11,00 คน
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวอีกว่า ผู้ต้องขังที่ทำผิดซ้ำมีประมาณร้อยละ 18 - 20 จากที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นกลุ่มเสพยา อย่างไรก็ตาม กรมราชทัณฑ์มีกระบวนการคัดกรองเป็นอย่างดี และมีการอบรมอาชีพก่อนปล่อยตัว เพื่อคืนคนดีสู่สังคม
ขณะเดียวกัน ในวันนี้ (7 เม.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีความห่วงใยพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ โดยนายกรัฐมนตรี ได้ให้ปรับปรุงกฎหมาย ในการมอบกระทรวงมหาดไทยติดตามดูแลผู้พ้นโทษ และกรมการจัดหางานดูแลเรื่องการหางาน ส่วนใหญ่ที่ถูกปล่อยตัวในกลุ่มคดียาเสพติด เนื่องจากผู้ต้องขังกว่าร้อยละ 70 ในเรือนจำเป็นกลุ่มนี้ รองลงมากลุ่มอาชญากรรม (ลักทรัพย์) ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 340,000 คน โดยมีผู้ต้องขังใหม่เข้าสู่เรือนจำเดือนละ 14,000 คน และถูกปล่อยตัวเดือนละ 11,00 คน
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวอีกว่า ผู้ต้องขังที่ทำผิดซ้ำมีประมาณร้อยละ 18 - 20 จากที่ได้รับการปล่อยตัวเป็นกลุ่มเสพยา อย่างไรก็ตาม กรมราชทัณฑ์มีกระบวนการคัดกรองเป็นอย่างดี และมีการอบรมอาชีพก่อนปล่อยตัว เพื่อคืนคนดีสู่สังคม