พ.ญ.วันทนีย์วัฒนะ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ฤดูร้อนปีนี้ กรุงเทพมหานครมีสภาพอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีตึกสูงจำนวนมาก ทำให้อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้สะดวก โดยอุณหภูมิอากาศบางวันสูง 37-40 องศาเซลเซียล และเมื่อสภาพอากาศร้อนจัด จะส่งผลอันตรายต่อประชาชนที่ต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งอย่างมาก โดยเฉพาะบุคคลที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ คือผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่น โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และผู้ที่ต้องทำงานอยู่ท่ามกลางแดดเช่น คนงานก่อสร้าง อาจส่งผลให้เกิดโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก อย่างฉับพลันได้ ซึ่งโรคดังกล่าวจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมองอย่างมาก
สำหรับอาการของผู้ที่กำลังเป็นโรคลมแดดนั้น จะมีอาการหน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว มึนงง และอาจหมดสติได้ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ซึ่งหากไม่มีการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคลมแดดอย่างต่อเนื่อง จึงอยากเตือนประชาชนให้ดูแลสุขภาพ จิบน้ำสะอาดเป็นประจำ สวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีและห้ามออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อนจัดอย่างเด็ดขาด และหากพบผู้ป่วยมีอาการของโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น โดยนำเข้าในที่ร่ม ให้ผู้ป่วยนอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อน เมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกลำตัว คอ รักแร้ ศีรษะเพื่อระบายความร้อนในร่างกายร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อนเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แล้วรีบนำส่งผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
สำหรับอาการของผู้ที่กำลังเป็นโรคลมแดดนั้น จะมีอาการหน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว มึนงง และอาจหมดสติได้ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ซึ่งหากไม่มีการดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคลมแดดอย่างต่อเนื่อง จึงอยากเตือนประชาชนให้ดูแลสุขภาพ จิบน้ำสะอาดเป็นประจำ สวมเสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีและห้ามออกกำลังกายในสภาพอากาศร้อนจัดอย่างเด็ดขาด และหากพบผู้ป่วยมีอาการของโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้น โดยนำเข้าในที่ร่ม ให้ผู้ป่วยนอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถ้ามีการอาเจียนให้นอนตะแคงก่อน เมื่ออาเจียนแล้วให้นอนหงาย คลายเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกลำตัว คอ รักแร้ ศีรษะเพื่อระบายความร้อนในร่างกายร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อนเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แล้วรีบนำส่งผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด