แพทย์หญิงภาวิณี ฤกษ์นิมิตร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวเตือนว่า ในช่วงหน้าร้อนให้ระวัง "โรคฮีตสโตรก" หรือ โรคลมแดด (Heat Stroke) ซึ่งพบมากในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก หรือคนชรา เนื่องจากอุณหภูมิความร้อนสะสมในร่างกายค่อนข้างสูง และระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ทัน ทำให้มีอาการหมดสติ เป็นลม หรือถึงขั้นช็อก สำหรับการป้องกันควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัดในช่วงเวลา 10.00น.-15.00 น.
ทั้งนี้ฮีตสโตรก (Heat stroke) หรือที่เรียกกันทั่วไปคือ โรคลมแดด เกิดจากการที่ ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสะสมสูง จนทำให้ อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ, ตับ, ปอด, ม้าม, สมอง ร้อนระอุจนสุก ทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงาน และทำให้ เสียชีวิต ในที่สุด อาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัด เนื่องจากโดยปกติร่างกายจะใช้ เหงื่อ และ ปัสสาวะ เป็นตัวปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล ในช่วงที่อากาศร้อนมาก ๆ ร่างกายจะเกิดการคายความร้อนออกมาพร้อมกับน้ำในรูปของเหงื่อ ซึ่งพร้อมกับการสูญเสียน้ำก็จะมีการชดเชยด้วยการที่สมองจะสั่งให้เกิดความรู้สึก หิวน้ำ กลไกสั่งการนี้จะใช้ระดับความเข้มข้นของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเสียน้ำเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อสร้างความรู้สึกหิวน้ำให้เกิดขึ้น แต่สำหรับคนที่เกิดอาการ ฮีตสโตรก ร่างกายไม่เพียงขับน้ำออกมาพร้อมกับเหงื่อเท่านั้น แต่ยังสูญเสียเกลือแร่ออกมาด้วย เพราะฉะนั้นร่างกายจึงเกิดขาดน้ำ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของเลือดไม่เปลี่ยนแปลง กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไป
ดังนั้นเมื่อร่างกายเสียน้ำมากเกินไปปริมาณเลือดจะลดลง จนไม่อาจไหลเวียนเลี้ยงร่างกายได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสมอง และร่างกายจะไม่ยอมให้เกิดการสูญเสียน้ำอีก โดยต่อมเหงื่อจะหยุดทำงานทันที ซึ่งแม้จะหยุดการเสียน้ำได้ แต่ความร้อนก็จะไม่สามารถระบายออกได้ ถึงจุดนี้ก็จะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนหม้อความดันที่กำลังเดือด ผลก็คืออวัยวะภายในต่าง ๆ จะเกิดภาวะร้อนจัด และจะทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงาน ซึ่งเมื่ออาการถึงระดับนี้การรักษาจะทำได้ยาก จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ทั้งนี้ฮีตสโตรก (Heat stroke) หรือที่เรียกกันทั่วไปคือ โรคลมแดด เกิดจากการที่ ร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายเกิดความร้อนสะสมสูง จนทำให้ อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ, ตับ, ปอด, ม้าม, สมอง ร้อนระอุจนสุก ทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงาน และทำให้ เสียชีวิต ในที่สุด อาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคนที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัด เนื่องจากโดยปกติร่างกายจะใช้ เหงื่อ และ ปัสสาวะ เป็นตัวปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล ในช่วงที่อากาศร้อนมาก ๆ ร่างกายจะเกิดการคายความร้อนออกมาพร้อมกับน้ำในรูปของเหงื่อ ซึ่งพร้อมกับการสูญเสียน้ำก็จะมีการชดเชยด้วยการที่สมองจะสั่งให้เกิดความรู้สึก หิวน้ำ กลไกสั่งการนี้จะใช้ระดับความเข้มข้นของเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเสียน้ำเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อสร้างความรู้สึกหิวน้ำให้เกิดขึ้น แต่สำหรับคนที่เกิดอาการ ฮีตสโตรก ร่างกายไม่เพียงขับน้ำออกมาพร้อมกับเหงื่อเท่านั้น แต่ยังสูญเสียเกลือแร่ออกมาด้วย เพราะฉะนั้นร่างกายจึงเกิดขาดน้ำ เนื่องจากระดับความเข้มข้นของเลือดไม่เปลี่ยนแปลง กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะสายเกินไป
ดังนั้นเมื่อร่างกายเสียน้ำมากเกินไปปริมาณเลือดจะลดลง จนไม่อาจไหลเวียนเลี้ยงร่างกายได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสมอง และร่างกายจะไม่ยอมให้เกิดการสูญเสียน้ำอีก โดยต่อมเหงื่อจะหยุดทำงานทันที ซึ่งแม้จะหยุดการเสียน้ำได้ แต่ความร้อนก็จะไม่สามารถระบายออกได้ ถึงจุดนี้ก็จะทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนหม้อความดันที่กำลังเดือด ผลก็คืออวัยวะภายในต่าง ๆ จะเกิดภาวะร้อนจัด และจะทำงานผิดปกติ หรือหยุดทำงาน ซึ่งเมื่ออาการถึงระดับนี้การรักษาจะทำได้ยาก จึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง