กลุ่ม P5+1 หรือมหาอำนาจ 6 ชาติ ขยายเวลาทำการเจรจากับอิหร่านต่อในวันพุธ (1 เม.ย.) หวังบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อควบคุมโครงการนิวเคลียร์ของเตหะราน หลังผ่านเส้นตายเที่ยงคืนวันอังคาร (31 มี.ค.) โดยที่ยังไม่สามารถตกลงรายละเอียดสำคัญหลายอย่างได้ อาทิ การยกเลิกมาตรการแซงก์ชันของยูเอ็น
คณะเจรจาพักการหารือในเมืองโลซานน์ของสวิตเซอร์แลนด์เมื่อย่างเข้าเช้าวันพุธ กระนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศมหาอำนาจหลายรายที่พบกับโมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน แสดงความเห็นในทางบวกว่า ข้อตกลงเบื้องต้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แสดงท่าทีระมัดระวังโดยระบุว่า ที่ประชุมมีความเข้าใจร่วมกันในกรอบโครงกว้างๆ แต่ยังมีประเด็นสำคัญบางอย่างที่ต้องเจรจาต่อ
ด้านซารีฟเผยว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี แต่เห็นพ้องกับแฮมมอนด์ว่า ยังมีบางประเด็นที่ต้องสะสาง ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของอิหร่านเผยว่า เตหะรานยินดีเจรจาจนกว่าจะสามารถผ่าทางตันได้
ทั้งนี้ ไม่มีความชัดเจนว่า การเจรจาจะยืดเยื้ออีกนานเพียงใด
เดิมพันการเจรจาครั้งนี้สูงมาก หลายฝ่ายกลัวว่า หากล้มเหลว อาจผลักดันให้อเมริกาและอิสราเอลเลือกใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อยับยั้งความพยายามในการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน
จอช เออร์เนสต์ โฆษกทำเนียบขาวแถลงเมื่อวันอังคารว่า คณะเจรจาของอเมริกาจะไม่รอจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนในการถอนตัวจากการหารือ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการเมืองเบื้องต้นได้ และย้ำว่า ทางเลือกในการใช้ปฏิบัติการทางทหารยังคงมีอยู่
ขณะเดียวกัน คณะเจรจาของอิหร่านเองก็ถูกกดดันจากกลุ่มหัวรุนแรงภายในประเทศไม่ให้ยอมอ่อนข้อมากเกินไป นอกจากนั้น ความกดดันยังตกอยู่กับประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ที่ให้สัญญาไว้ว่า จะทำให้นานาชาติยกเลิกการคว่ำบาตรเตหะราน
คณะเจรจาพักการหารือในเมืองโลซานน์ของสวิตเซอร์แลนด์เมื่อย่างเข้าเช้าวันพุธ กระนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศมหาอำนาจหลายรายที่พบกับโมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน แสดงความเห็นในทางบวกว่า ข้อตกลงเบื้องต้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม
ฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แสดงท่าทีระมัดระวังโดยระบุว่า ที่ประชุมมีความเข้าใจร่วมกันในกรอบโครงกว้างๆ แต่ยังมีประเด็นสำคัญบางอย่างที่ต้องเจรจาต่อ
ด้านซารีฟเผยว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี แต่เห็นพ้องกับแฮมมอนด์ว่า ยังมีบางประเด็นที่ต้องสะสาง ขณะที่เจ้าหน้าที่อาวุโสของอิหร่านเผยว่า เตหะรานยินดีเจรจาจนกว่าจะสามารถผ่าทางตันได้
ทั้งนี้ ไม่มีความชัดเจนว่า การเจรจาจะยืดเยื้ออีกนานเพียงใด
เดิมพันการเจรจาครั้งนี้สูงมาก หลายฝ่ายกลัวว่า หากล้มเหลว อาจผลักดันให้อเมริกาและอิสราเอลเลือกใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อยับยั้งความพยายามในการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน
จอช เออร์เนสต์ โฆษกทำเนียบขาวแถลงเมื่อวันอังคารว่า คณะเจรจาของอเมริกาจะไม่รอจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนในการถอนตัวจากการหารือ หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการเมืองเบื้องต้นได้ และย้ำว่า ทางเลือกในการใช้ปฏิบัติการทางทหารยังคงมีอยู่
ขณะเดียวกัน คณะเจรจาของอิหร่านเองก็ถูกกดดันจากกลุ่มหัวรุนแรงภายในประเทศไม่ให้ยอมอ่อนข้อมากเกินไป นอกจากนั้น ความกดดันยังตกอยู่กับประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ที่ให้สัญญาไว้ว่า จะทำให้นานาชาติยกเลิกการคว่ำบาตรเตหะราน