น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจค่าจ้างของแรงงานไทย ตั้งแต่เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 พบว่า มีการผูกติดกับค่าแรงจำนวน 300 บาท ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ค่าอาหารชีวิตในประจำวัน ทำให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชน มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงเป็นวันละ 360 บาท พร้อมทั้งยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด ที่ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ใช้แรงงาน จัดทำโครงสร้างค่าจ้างให้ชัดเจน และสร้างกลไกในการคุ้มครองแรงงานที่ทำงานเกิน 1 ปี ให้มีการปรับค่าจ้างเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ
สำหรับผลสำรวจค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงานจำนวน 2,933 คน ใน 12 จังหวัด อาทิ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี กรุงเทพฯ พบว่า แรงงานที่ต้องรับภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้อื่นที่ไม่มีรายได้ คิดเป็น 90.79% โดยมีค่าจ้างรายวันมากกว่า 300 บาท คิดเป็น 69% รองลงมาได้ค่าจ้างประมาณ 200-300 บาท คิดเป็น 30.48% ส่วนค่าจ้างรายเดือนตั้งแต่ 10,000-12,500 บาท คิดเป็น 37.77% รองลงมาได้ค่าจ้าง 12,500 -15,000 บาท คิดเป็น 24.52%เท่านั้น
ขณะที่สถานภาพการจ้างงานยังมีความเสี่ยงอยู่มาก โดยลูกจ้างประจำรายเดือนคิดเป็น 51.73% แต่ลูกจ้างรายวันมีสูงถึง 46% และแรงงานนอกระบบ 0.14% จากนั้นทำการสำรวจค่าใช้รายวันพบว่า เดือนสิงหาคม 2556 ผู้ใช้แรงงานมีรายจ่ายอยู่ที่ 352.53 บาท แต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดเดือนมีนาคม 2558 ผู้ใช้แรงงานมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 360.72 บาท ส่วน ภาระหนี้สินต่อเดือน แรงงานส่วนใหญ่เป็นหนี้สินอื่น 38% รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร 23.20% และหนี้นอกระบบ 22.73% หนี้บัตรเครดิต 16%
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐและหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน และจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐและหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน และจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน
สำหรับผลสำรวจค่าครองชีพของผู้ใช้แรงงานจำนวน 2,933 คน ใน 12 จังหวัด อาทิ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี กรุงเทพฯ พบว่า แรงงานที่ต้องรับภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูผู้อื่นที่ไม่มีรายได้ คิดเป็น 90.79% โดยมีค่าจ้างรายวันมากกว่า 300 บาท คิดเป็น 69% รองลงมาได้ค่าจ้างประมาณ 200-300 บาท คิดเป็น 30.48% ส่วนค่าจ้างรายเดือนตั้งแต่ 10,000-12,500 บาท คิดเป็น 37.77% รองลงมาได้ค่าจ้าง 12,500 -15,000 บาท คิดเป็น 24.52%เท่านั้น
ขณะที่สถานภาพการจ้างงานยังมีความเสี่ยงอยู่มาก โดยลูกจ้างประจำรายเดือนคิดเป็น 51.73% แต่ลูกจ้างรายวันมีสูงถึง 46% และแรงงานนอกระบบ 0.14% จากนั้นทำการสำรวจค่าใช้รายวันพบว่า เดือนสิงหาคม 2556 ผู้ใช้แรงงานมีรายจ่ายอยู่ที่ 352.53 บาท แต่จากการสำรวจครั้งล่าสุดเดือนมีนาคม 2558 ผู้ใช้แรงงานมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 360.72 บาท ส่วน ภาระหนี้สินต่อเดือน แรงงานส่วนใหญ่เป็นหนี้สินอื่น 38% รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร 23.20% และหนี้นอกระบบ 22.73% หนี้บัตรเครดิต 16%
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐและหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน และจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อภาครัฐและหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน และจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน