นางกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ ระบุว่า สถานการณ์หนี้สินภาคครัวเรือนที่ปรากฏตัวเลขออกมาเป็นตัวเลขของหนี้ในระบบเท่านั้น ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการกู้นอกระบบ ด้วยการให้เงินกู้เพิ่มไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา จากข้อมูลพบว่าคนไทยเกี่ยวข้องกับหนี้สิน ทั้งทางตรงทางอ้อมไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน เกิดกับประชาชนทุกระดับรายได้ แม้กระทั่งนักธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกินกว่าครึ่งก็เป็นหนี้นอกระบบ แต่ไม่มีหน่วยงานใดที่ดูแลเรื่องนี้อย่างบูรณาการ ซึ่งสาเหตุของการเป็นหนี้นอกระบบของลูกหนี้นั้น เกิดจากไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
นอกจากนี้ ยังพบว่าก่อนที่ลูกหนี้จะเป็นหนี้นอกระบบ กลุ่มนี้เคยเป็นหนี้ในระบบมาก่อนแล้ว และสาเหตุก็ไม่ได้เกิดจากรายรับไม่พอรายจ่ายเพียงอย่างเดียว และปัญหาที่พบจากลูกหนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หน่วยงานรัฐปล่อยให้มีการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง
นางกัลยาณี เปิดเผยถึงทางออกของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบว่า ควรต้องมีการจัดระบบขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้นอกระบบตามรายพื้นที่ ซึ่งในต่างประเทศมีการทำเช่นนี้ และเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 28-30 ต่อปี ตามอัตราเดียวกับบัตรเครดิต มาตรการนี้จะช่วยทำให้รัฐเองก็ได้เก็บภาษี รวมทั้งมาตราทางกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ส่วนเรื่องการดำเนินการอบรมลูกหนี้ให้รู้จักเงินออมเป็นเรื่องปลายทาง เพราะประชาชนเดือดร้อนเฉพาะหน้า
ส่วนวิธีการแก้ไขหนี้ วิธีการไม่ใช่นำเจ้าหนี้ และลูกหนี้มาเจรจาแล้วให้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ แต่ต้องพิจารณาว่าลูกหนี้แต่ละรายมีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร มีโครงสร้างรายได้เป็นอย่างไร ประสบปัญหาอะไร และสมาชิกในบ้านมีรายได้เท่าใด คนในครอบครัวช่วยกันได้หรือไม่ อย่างน้อยที่สุด คือ การรักษาบ้านที่อยู่อาศัย และต้องมีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการดูแลโดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดต้องให้ลูกหนี้เชื่อใจ ต้องมีนักจิตวิทยาคอยดูแล แต่ทุกวันนี้ปัญหาสะสมมานาน และหน่วยงานของรัฐบางครั้งก็ไม่สามารถดูแลทางฝ่ายลูกหนี้ได้เต็มที่ ต้องดูว่าสัญญาของการก่อหนี้ขึ้นมามีความเป็นธรรมหรือไม่ รวมไปถึงการเซ็นของผู้ค้ำประกันด้วย
นอกจากนี้ ยังพบว่าก่อนที่ลูกหนี้จะเป็นหนี้นอกระบบ กลุ่มนี้เคยเป็นหนี้ในระบบมาก่อนแล้ว และสาเหตุก็ไม่ได้เกิดจากรายรับไม่พอรายจ่ายเพียงอย่างเดียว และปัญหาที่พบจากลูกหนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หน่วยงานรัฐปล่อยให้มีการคิดดอกเบี้ยที่ไม่ถูกต้อง
นางกัลยาณี เปิดเผยถึงทางออกของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบว่า ควรต้องมีการจัดระบบขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้นอกระบบตามรายพื้นที่ ซึ่งในต่างประเทศมีการทำเช่นนี้ และเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 28-30 ต่อปี ตามอัตราเดียวกับบัตรเครดิต มาตรการนี้จะช่วยทำให้รัฐเองก็ได้เก็บภาษี รวมทั้งมาตราทางกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ติดตามทวงหนี้ ส่วนเรื่องการดำเนินการอบรมลูกหนี้ให้รู้จักเงินออมเป็นเรื่องปลายทาง เพราะประชาชนเดือดร้อนเฉพาะหน้า
ส่วนวิธีการแก้ไขหนี้ วิธีการไม่ใช่นำเจ้าหนี้ และลูกหนี้มาเจรจาแล้วให้เจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้ แต่ต้องพิจารณาว่าลูกหนี้แต่ละรายมีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร มีโครงสร้างรายได้เป็นอย่างไร ประสบปัญหาอะไร และสมาชิกในบ้านมีรายได้เท่าใด คนในครอบครัวช่วยกันได้หรือไม่ อย่างน้อยที่สุด คือ การรักษาบ้านที่อยู่อาศัย และต้องมีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการดูแลโดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดต้องให้ลูกหนี้เชื่อใจ ต้องมีนักจิตวิทยาคอยดูแล แต่ทุกวันนี้ปัญหาสะสมมานาน และหน่วยงานของรัฐบางครั้งก็ไม่สามารถดูแลทางฝ่ายลูกหนี้ได้เต็มที่ ต้องดูว่าสัญญาของการก่อหนี้ขึ้นมามีความเป็นธรรมหรือไม่ รวมไปถึงการเซ็นของผู้ค้ำประกันด้วย