ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา(23-27มี.ค.) เงินบาทแข็งค่า แต่ลดช่วงบวกลงช่วงปลายสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวใกล้ระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 32.45 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ จากสัญญาณจังหวะเวลาในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ที่ยังไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี เงินบาททยอยลดช่วงบวก และกลับไปอ่อนค่าลงในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ หลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนี PMI ภาคบริการ หนุนให้มีแรงซื้อเงินดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้น
สำหรับในวันศุกร์ (27 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 32.57 เทียบกับระดับ 32.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (20 มี.ค.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (30 มี.ค.-3 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.50-32.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ตลาดรอจับตา คือ ข้อสรุปการพิจารณาแผนปฎิรูปของกรีซโดยกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซน เพื่อปลดล็อกให้กรีซสามารถเริ่มเบิกเงินจากมาตรการช่วยเหลือได้ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ข้อมูลตลาดแรงงาน (การจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราการว่างงาน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคม ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีราคาบ้านเดือนมกราคม
นอกจากนี้ ตลาดในประเทศอาจจับตาข้อมูลเงินเฟ้อเดือนมีนาคม และตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ด้วยเช่นกัน
สำหรับในวันศุกร์ (27 มี.ค.) เงินบาทอยู่ที่ 32.57 เทียบกับระดับ 32.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (20 มี.ค.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (30 มี.ค.-3 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.50-32.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ตลาดรอจับตา คือ ข้อสรุปการพิจารณาแผนปฎิรูปของกรีซโดยกลุ่มเจ้าหนี้ยูโรโซน เพื่อปลดล็อกให้กรีซสามารถเริ่มเบิกเงินจากมาตรการช่วยเหลือได้ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ข้อมูลตลาดแรงงาน (การจ้างงานนอกภาคเกษตร และอัตราการว่างงาน) ดัชนี PMI ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคม ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีราคาบ้านเดือนมกราคม
นอกจากนี้ ตลาดในประเทศอาจจับตาข้อมูลเงินเฟ้อเดือนมีนาคม และตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ด้วยเช่นกัน