กรณีกรมศิลปากรได้แจ้งความดำเนินการกับผู้สั่งการ และคนงาน ซึ่งทำลายโบราณสถานสำคัญภายในวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เขตธนบุรี กทม.โดยให้ดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางอาญาและแพ่งไปแล้วนั้น
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ. เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้รายงานขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆกับวัดกัลยาณมิตรฯให้ทราบตามลำดับ ตั้งแต่แรกที่มีการแจ้งความดำเนินคดีเมื่อปี 2546 ซึ่งเท่าที่ตนได้ดูรายละเอียด พบว่า ทางวัดได้รื้อทำลายโบราณสถานแล้ว 22 รายการ ซึ่งแต่ละรายการถือเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่า ซึ่งตนมองว่าแม้ทางวัดมีความจำเป็นต้องรื้อถอน หรือก่อสร้างใหม่ ก็ควรต้องแจ้งกรมศิลป์ให้ชัดเจน เพื่อขออนุมัติแบบในการบูรณะให้ถูกต้องไม่ใช่ดำเนินการเอง
“กรมศิลปากร ได้นำภาพถ่ายโบราณสถานชิ้นสำคัญที่ถูกรื้อทำลายไปแล้ว และสร้างขึ้นใหม่มาให้ดู ซึ่งผมเห็นว่ามีความแตกต่างกันมาก และบางรายการไม่หลงเหลือเค้าโครงโบราณสถานที่สวยงามในอดีตให้เห็นแม้แต่น้อย โดยเฉพาะตึกหอสวดมนต์กัลยาณาลัย ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ซึ่งน่าเสียดายมาก ดังนั้น ผมจึงไม่นิ่งนอนใจและขอให้กรมศิลปากรดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย เพื่อเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป” นายวีระ กล่าวและว่า ขณะนี้ทราบว่ากรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตามเรื่องดังกล่าวที่วัด และ ที่ สน.บุปผาราม อย่างใกล้ชิด รวมถึงขอให้ชาวบ้านคอยเป็นหูเป็นตาให้กรณีที่พบว่า ทางวัดจะทำการรื้อทำลายโบราณสถานรายการอื่นๆ เพิ่มเติมอีกขอให้แจ้งมายังกรมศิลปากร หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจทันที ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี
นายวีระ กล่าวด้วยว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆในส่วนของกรมศิลปากรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอคำสั่งศาลว่าจะสั่งฟ้องตามที่แจ้งความดำเนินคดีหรือไม่ ซึ่งในระหว่างนี้ตนขอให้กรมศิลปากร ไปศึกษารายละเอียด พร้อมประชุมหารือกับกรรมการด้านวิชาการของกรมศิลปากรกรณีโบราณสถานที่ถูกรื้อทำลายและได้รับการสร้างขึ้นใหม่ว่าหากชนะคดี จะมีการทุบอาคารที่สร้างขึ้นใหม่แล้วก่อสร้างตามรูปแบบเดิมขึ้นมาแทน หรือ มีแนวทางออกอื่นที่ดีอย่างไรเพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า.
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วธ. เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้รายงานขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆกับวัดกัลยาณมิตรฯให้ทราบตามลำดับ ตั้งแต่แรกที่มีการแจ้งความดำเนินคดีเมื่อปี 2546 ซึ่งเท่าที่ตนได้ดูรายละเอียด พบว่า ทางวัดได้รื้อทำลายโบราณสถานแล้ว 22 รายการ ซึ่งแต่ละรายการถือเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่า ซึ่งตนมองว่าแม้ทางวัดมีความจำเป็นต้องรื้อถอน หรือก่อสร้างใหม่ ก็ควรต้องแจ้งกรมศิลป์ให้ชัดเจน เพื่อขออนุมัติแบบในการบูรณะให้ถูกต้องไม่ใช่ดำเนินการเอง
“กรมศิลปากร ได้นำภาพถ่ายโบราณสถานชิ้นสำคัญที่ถูกรื้อทำลายไปแล้ว และสร้างขึ้นใหม่มาให้ดู ซึ่งผมเห็นว่ามีความแตกต่างกันมาก และบางรายการไม่หลงเหลือเค้าโครงโบราณสถานที่สวยงามในอดีตให้เห็นแม้แต่น้อย โดยเฉพาะตึกหอสวดมนต์กัลยาณาลัย ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ซึ่งน่าเสียดายมาก ดังนั้น ผมจึงไม่นิ่งนอนใจและขอให้กรมศิลปากรดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมาย เพื่อเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป” นายวีระ กล่าวและว่า ขณะนี้ทราบว่ากรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปติดตามเรื่องดังกล่าวที่วัด และ ที่ สน.บุปผาราม อย่างใกล้ชิด รวมถึงขอให้ชาวบ้านคอยเป็นหูเป็นตาให้กรณีที่พบว่า ทางวัดจะทำการรื้อทำลายโบราณสถานรายการอื่นๆ เพิ่มเติมอีกขอให้แจ้งมายังกรมศิลปากร หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจทันที ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านเป็นอย่างดี
นายวีระ กล่าวด้วยว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆในส่วนของกรมศิลปากรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอคำสั่งศาลว่าจะสั่งฟ้องตามที่แจ้งความดำเนินคดีหรือไม่ ซึ่งในระหว่างนี้ตนขอให้กรมศิลปากร ไปศึกษารายละเอียด พร้อมประชุมหารือกับกรรมการด้านวิชาการของกรมศิลปากรกรณีโบราณสถานที่ถูกรื้อทำลายและได้รับการสร้างขึ้นใหม่ว่าหากชนะคดี จะมีการทุบอาคารที่สร้างขึ้นใหม่แล้วก่อสร้างตามรูปแบบเดิมขึ้นมาแทน หรือ มีแนวทางออกอื่นที่ดีอย่างไรเพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า.