นายสามารถ วราดิศัย ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ในการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ ขณะนี้ทางจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์การเกิดภัย โดยมีแนวทางในการดำเนินการ ประกอบด้วย การประเมินความเสี่ยงภัยแล้ง เพื่อประเมินโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยแล้งและผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณชน ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม
สำหรับพื้นที่จังหวัดยะลาขณะนี้พบว่าบางพื้นที่เริ่มประสบปัญหาภัยแล้งบ้างแล้ว โดยเฉพาะในเขตอำเภอรามัน อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา และอำเภอกาบังบางส่วน ซึ่งขณะนี้ตนเองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่บูรณาการออกให้ความช่วยเหลือแล้ว
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดยะลานั้น คาดว่ากลางเดือนเมษายน หากยังไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ ก็จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากขึ้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวอีกว่า ในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้ง ที่ผ่านมา จ.ยะลา ได้จัดตั้งและฝึกอบรมอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ เช่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือ อปพร. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งการกำหนดมาตรการประหยัดน้ำแบบบูรณาการในทุกระดับ มีการเตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ ยานพาหนะวัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีเมื่อเกิดภัย พร้อมจัดทำแผนส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วย
สำหรับพื้นที่จังหวัดยะลาขณะนี้พบว่าบางพื้นที่เริ่มประสบปัญหาภัยแล้งบ้างแล้ว โดยเฉพาะในเขตอำเภอรามัน อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา และอำเภอกาบังบางส่วน ซึ่งขณะนี้ตนเองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่บูรณาการออกให้ความช่วยเหลือแล้ว
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดยะลานั้น คาดว่ากลางเดือนเมษายน หากยังไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ ก็จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากขึ้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวอีกว่า ในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้ง ที่ผ่านมา จ.ยะลา ได้จัดตั้งและฝึกอบรมอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ เช่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หรือ อปพร. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งการกำหนดมาตรการประหยัดน้ำแบบบูรณาการในทุกระดับ มีการเตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ ยานพาหนะวัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีเมื่อเกิดภัย พร้อมจัดทำแผนส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งให้สอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่องด้วย