นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมสัมมนาทดสอบตลาด โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ว่า หลังกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้สำนักงานนโยบายแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาแนวทางจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินในไทย เมื่อเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมา เพื่อสนองนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการสนับสนุนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียส่อแววเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งในไทยยังมีเครื่องบินให้บริการมากกว่า 200 ลำ และกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนดังกล่าว ต้องนำเครื่องบินไปซ่อมที่ต่างประเทศ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไปกลับมากถึง 400,000 บาทต่อครั้ง
อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณข้างต้น หากไทยสามารถพัฒนาศูนย์ซ่อมท่าอากาศยาน รวมทั้งผลิตชิ้นส่วนเข้ามารองรับได้ นอกจากจะส่งผลให้สายการบินในไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องไปซ่อมยังต่างประเทศแล้ว ไทยยังจะกลายเป็นฮับการซ่อมบำรุงเครื่องบินในภูมิภาคอาเซียน เป็นโอกาสที่ทำให้ไทยสามารถเพิ่มศักยภาพ และดึงเม็ดเงินเข้าประเทศได้
ทั้งนี้ กรอบการศึกษาที่ทางกระทรวงฯ มอบให้ สนข.นั้น อยู่ภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี ซึ่งขณะนี้แผนการศึกษาดำเนินไปเกือบร้อยละ 50 แล้ว และพบว่าท่าอากาศยานที่มีศักยภาพในการพัฒนาศูนย์ซ่อมมีจำนวน 5 แห่ง ประกอบไปด้วย ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ท่าอากาศยานนครราชสีมา ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานเชียงราย
ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวด้วยว่า ผลการศึกษาตอนนี้ค่อนข้างชัดเจนในส่วนของพื้นที่พัฒนา ซึ่งหลังงานสัมมนาในครั้งนี้น่าจะได้ความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบินที่เข้ามาร่วมงานเพื่อเอามาพัฒนาแผนดำเนินการต่อไป อีกทั้งน่าจะได้บทสรุปของแนวทางการลงทุนว่าเอกชนมองอย่างไรอยากเข้าร่วมลงทุนหรือไม่ และน่าจะได้กรอบวงเงินที่จะนำมาพัฒนาโครงการนี้ด้วย ขั้นตอนต่อไปต้องรอให้ทาง สนข.ส่งผลการศึกษามายังกระทรวงฯ ในเร็วๆ นี้ เพื่อผลักดันเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และจัดตั้งคณะกรรมการทำงานเพื่อดูแลโครงการต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณข้างต้น หากไทยสามารถพัฒนาศูนย์ซ่อมท่าอากาศยาน รวมทั้งผลิตชิ้นส่วนเข้ามารองรับได้ นอกจากจะส่งผลให้สายการบินในไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องไปซ่อมยังต่างประเทศแล้ว ไทยยังจะกลายเป็นฮับการซ่อมบำรุงเครื่องบินในภูมิภาคอาเซียน เป็นโอกาสที่ทำให้ไทยสามารถเพิ่มศักยภาพ และดึงเม็ดเงินเข้าประเทศได้
ทั้งนี้ กรอบการศึกษาที่ทางกระทรวงฯ มอบให้ สนข.นั้น อยู่ภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี ซึ่งขณะนี้แผนการศึกษาดำเนินไปเกือบร้อยละ 50 แล้ว และพบว่าท่าอากาศยานที่มีศักยภาพในการพัฒนาศูนย์ซ่อมมีจำนวน 5 แห่ง ประกอบไปด้วย ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ท่าอากาศยานนครราชสีมา ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานเชียงราย
ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวด้วยว่า ผลการศึกษาตอนนี้ค่อนข้างชัดเจนในส่วนของพื้นที่พัฒนา ซึ่งหลังงานสัมมนาในครั้งนี้น่าจะได้ความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบินที่เข้ามาร่วมงานเพื่อเอามาพัฒนาแผนดำเนินการต่อไป อีกทั้งน่าจะได้บทสรุปของแนวทางการลงทุนว่าเอกชนมองอย่างไรอยากเข้าร่วมลงทุนหรือไม่ และน่าจะได้กรอบวงเงินที่จะนำมาพัฒนาโครงการนี้ด้วย ขั้นตอนต่อไปต้องรอให้ทาง สนข.ส่งผลการศึกษามายังกระทรวงฯ ในเร็วๆ นี้ เพื่อผลักดันเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และจัดตั้งคณะกรรมการทำงานเพื่อดูแลโครงการต่อไป