นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายนนี้ สนข.จะลงนามสัญญาว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และบริษัทเอกชนอีก 4 แห่ง เช่น อาทิ บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด เพื่อศึกษาภาพรวมอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคอาเซียน และในไทย รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน และศูนย์ซ่อมอากาศยานในประเทศไทย โดยใช้วงเงิน 75 ล้านบาท
ทั้งนี้ถือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากปัจจุบันไทยมีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ รวมทั้งมีอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการตั้งนิคมอากาศยานภายในประเทศไทยได้ หลังจากนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี ก่อนเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)พิจารณาอนุมัติต่อไป
นายพีระพล กล่าวว่า แนวทางการศึกษา จะมีการศึกษาถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมการบินของโลกและภูมิภาค และความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ 2 โครงการย่อย ได้แก่ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน และโครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน ตลอดจนอุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะเข้ามาอยู่ในพื้นที่นิคมฯ รวมทั้งรูปแบบการดำเนินการของศูนย์ซ่อมอากาศยานว่าจะมุ่งเน้นซ่อมเครื่องบินขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก และการจัดตั้งศูนย์ผลิตอะไหล่ เพื่อใช้ในประเทศและเพื่อส่งออก
นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงรูปแบบของสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในนิคม ซึ่งหากผลการศึกษาสรุปว่าโครงการมีความเป็นไปได้ สนข.จะนำผลการศึกษาดังกล่าวไปใช้ในการเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาร่วมลงทุนประกอบกิจการในไทยด้วย
ทั้งนี้ถือเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากปัจจุบันไทยมีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ รวมทั้งมีอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการตั้งนิคมอากาศยานภายในประเทศไทยได้ หลังจากนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปี ก่อนเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา และเสนอให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)พิจารณาอนุมัติต่อไป
นายพีระพล กล่าวว่า แนวทางการศึกษา จะมีการศึกษาถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมการบินของโลกและภูมิภาค และความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ 2 โครงการย่อย ได้แก่ การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน และโครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน ตลอดจนอุตสาหกรรมหลัก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะเข้ามาอยู่ในพื้นที่นิคมฯ รวมทั้งรูปแบบการดำเนินการของศูนย์ซ่อมอากาศยานว่าจะมุ่งเน้นซ่อมเครื่องบินขนาดกลาง ขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก และการจัดตั้งศูนย์ผลิตอะไหล่ เพื่อใช้ในประเทศและเพื่อส่งออก
นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงรูปแบบของสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้ามาลงทุนในนิคม ซึ่งหากผลการศึกษาสรุปว่าโครงการมีความเป็นไปได้ สนข.จะนำผลการศึกษาดังกล่าวไปใช้ในการเชิญชวนนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาร่วมลงทุนประกอบกิจการในไทยด้วย