นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันว่า โรคลิชมาเนีย ที่เกิดจากการถูกตัวริ้นฝอยทรายกัด ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ในไทย เคยพบผู้ป่วยโรคนี้มาแล้ว แต่ไม่บ่อย โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบเพียง 60 รายเท่านั้น
ขณะที่นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายถึงการเกิดโรคลิชมาเนียว่า เกิดจากการกัดของตัวริ้นฝอยทราย เพศเมีย ที่มีเชื้อลิชมาเนีย โดยเชื้อดังกล่าวเป็นโปรโตซัวในตระกูลลิชมาเนีย ก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ ทั้งหนู สุนัข แมว ม้า วัว กระรอก และกระแต รวมถึงมีเชื้อลิชมาเนียมากกว่า 20 ชนิด ที่สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้
สำหรับอาการแสดงของโรคนี้ สามารถแสดงออกทางอวัยวะภายใน หรือผิวหนัง หรืออาจแสดงอาการทั้งสองทาง เช่น มีไข้เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มีอาการท้องอืด ตับ ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ผิวหนังคล้ำ และเกิดรอยที่ผิวหนัง
จากข้อมูลล่าสุด พบว่ามีเชื้อลิชมาเนีย 2 ชนิด ระบาดในประเทศไทย คือ ลิชมาเนียสายพันธุ์ไทย และลิชมาเนียที่พบในผู้ป่วยในเกาะมาร์ตินี นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบการติดเชื้อในวัว และม้า ในประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยแสดงอาการที่ผิวหนังในสัตว์ด้วย
ขณะที่นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายถึงการเกิดโรคลิชมาเนียว่า เกิดจากการกัดของตัวริ้นฝอยทราย เพศเมีย ที่มีเชื้อลิชมาเนีย โดยเชื้อดังกล่าวเป็นโปรโตซัวในตระกูลลิชมาเนีย ก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ ทั้งหนู สุนัข แมว ม้า วัว กระรอก และกระแต รวมถึงมีเชื้อลิชมาเนียมากกว่า 20 ชนิด ที่สามารถทำให้เกิดโรคในคนได้
สำหรับอาการแสดงของโรคนี้ สามารถแสดงออกทางอวัยวะภายใน หรือผิวหนัง หรืออาจแสดงอาการทั้งสองทาง เช่น มีไข้เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มีอาการท้องอืด ตับ ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ผิวหนังคล้ำ และเกิดรอยที่ผิวหนัง
จากข้อมูลล่าสุด พบว่ามีเชื้อลิชมาเนีย 2 ชนิด ระบาดในประเทศไทย คือ ลิชมาเนียสายพันธุ์ไทย และลิชมาเนียที่พบในผู้ป่วยในเกาะมาร์ตินี นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบการติดเชื้อในวัว และม้า ในประเทศเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยแสดงอาการที่ผิวหนังในสัตว์ด้วย