นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน รองหัวหน้าคณะทำงานอัยการ ที่รับผิดชอบคดีโครงการจำนำข้าวและระบายข้าว นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน และนายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประทับรับฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว จนทำให้รัฐเสียหายกว่า 6 แสนล้านบาท
โดยนายสุรศักดิ์ กล่าวว่า การที่ศาลฎีกาฯ ประทับรับฟ้องเป็นผลให้อำนาจการพิจารณาคดีทั้งหมดอยู่ในดุลยพินิจของศาลฎีกาฯ รวมถึงการเดินทางออกนอกประเทศของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งจะต้องอยู่ในดุลยพินิจและต้องขอศาลทุกครั้ง หลังจากนี้จำเลยมีสิทธิ์ส่งตัวแทนหรือเดินทางมาขอคัดเอกสารการฟ้องของโจทก์รวมถึงขอประกันตัวได้ตั้งแต่วันนี้
ส่วนวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องเดินทางมาศาลด้วยตนเอง ถ้าไม่มาศาลอาจออกหมายจับได้ แต่หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ติดภารกิจก็ต้องเป็นดุลพินิจของศาลว่าจะมีความเห็นอย่างไร รวมทั้งจะเป็นวันที่ศาลพิจารณาด้วยว่าจะให้ประกันตัวจำเลยหรือไม่ และหลังจากวันที่ 19 พฤษภาคม ศาลจะกำหนดวันตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง ซึ่งหากจำเลยไม่มาศาลก็มีสิทธิพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ โดยในวันตรวจพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยต้องยื่นบัญชีเพื่อระบุพยานหลักฐานที่จะใช้ในการต่อสู้คดี
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ตรียมพยานบุคคลไว้ 13 ปาก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อยืนยันการได้มาซึ่งเอกสารราชการ และประเด็นข้อกฎหมาย รวมถึงพยานเอกสาร และพยานวัตถุต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยมั่นใจว่าพยานหลักฐานขณะนี้ เพียงพอแล้วที่จะเสนอให้ศาลรับฟังเป็นที่ยุติได้ แต่จะเอาผิดให้ศาลลงโทษได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ส่วนฝ่ายจำเลยจะยื่นบัญชีพยานเท่าไหร่จะต้องรอดูในวันนัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง
โดยนายสุรศักดิ์ กล่าวว่า การที่ศาลฎีกาฯ ประทับรับฟ้องเป็นผลให้อำนาจการพิจารณาคดีทั้งหมดอยู่ในดุลยพินิจของศาลฎีกาฯ รวมถึงการเดินทางออกนอกประเทศของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งจะต้องอยู่ในดุลยพินิจและต้องขอศาลทุกครั้ง หลังจากนี้จำเลยมีสิทธิ์ส่งตัวแทนหรือเดินทางมาขอคัดเอกสารการฟ้องของโจทก์รวมถึงขอประกันตัวได้ตั้งแต่วันนี้
ส่วนวันที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งศาลนัดพิจารณาคดีครั้งแรก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องเดินทางมาศาลด้วยตนเอง ถ้าไม่มาศาลอาจออกหมายจับได้ แต่หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ติดภารกิจก็ต้องเป็นดุลพินิจของศาลว่าจะมีความเห็นอย่างไร รวมทั้งจะเป็นวันที่ศาลพิจารณาด้วยว่าจะให้ประกันตัวจำเลยหรือไม่ และหลังจากวันที่ 19 พฤษภาคม ศาลจะกำหนดวันตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง ซึ่งหากจำเลยไม่มาศาลก็มีสิทธิพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ โดยในวันตรวจพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยต้องยื่นบัญชีเพื่อระบุพยานหลักฐานที่จะใช้ในการต่อสู้คดี
ทั้งนี้ อัยการโจทก์ตรียมพยานบุคคลไว้ 13 ปาก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อยืนยันการได้มาซึ่งเอกสารราชการ และประเด็นข้อกฎหมาย รวมถึงพยานเอกสาร และพยานวัตถุต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยมั่นใจว่าพยานหลักฐานขณะนี้ เพียงพอแล้วที่จะเสนอให้ศาลรับฟังเป็นที่ยุติได้ แต่จะเอาผิดให้ศาลลงโทษได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ส่วนฝ่ายจำเลยจะยื่นบัญชีพยานเท่าไหร่จะต้องรอดูในวันนัดตรวจพยานหลักฐานอีกครั้ง