นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ช่วยให้ทำงานต่าง ๆ ได้ ถ้าหากตามองไม่เห็นหรือสายตาเลือนราง จะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการทำงาน ซึ่งทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน ทำให้สายตาต้องเพ่งหน้าจออยู่เป็นเวลานาน เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านสายตา เช่น ปวดตา ตามัว ตาแห้ง สายตาล้า สายตาสั้น รวมทั้งผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ควรรู้จักถนอมดวงตา ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน อาทิ กระพริบตาให้ถี่ขึ้น ลดอาการตาแห้ง หรือใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ให้หน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4-9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป เลือกใช้ตัวอักษรใหญ่เวลาพิมพ์งาน และปรับความเข้มของตัวอักษรให้มากขึ้น โดยเลือกตัวอักษรและความเข้มที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ควรเลือกแว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตมาเพื่อกรองแสงจากหน้าจอโดยเฉพาะ และใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ช่วยให้สบายตา และลดแสงสะท้อนจากจอภาพ ควรพักสายตาทุกๆ ชั่วโมง โดยเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เพื่อพักสายตาและป้องกัน อาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นต้น
นายแพทย์พรเทพ กล่าวต่อว่า การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ดวงตามีสุขภาพดีขึ้น เช่น กินอาหารที่มีโอเมก้า 3 กินผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า แครอท อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน กินปลาแซลมอน ปลาทูน่า กินไข่ ถั่วประเภทนัท และอื่นๆ ที่ไม่ใช่แหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ส้ม ผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ หรือน้ำผลไม้ ช่วยทำให้ร่างกายได้รับวิตามินซี นอกจากนี้ ควรสวมแว่นกันแดดที่สามารถปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต UVA และ UVB ป้องกันต้อกระจก และจอประสาทเสื่อม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เกิน 19 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
ทั้งนี้ ควรบริหารกล้ามเนื้อตา โดยการกลอกตาขึ้น-ลงช้าๆ 6 ครั้ง กลอกตาไปข้างขวา และซ้ายสลับกัน มองวัตถุใกล้ตัว และไกลตัวออกไป และกลอกตาเป็นวงกลมช้า ก็จะช่วยผ่อนคลายและส่งผลดีต่อดวงตา ซึ่งผู้มีอายุระหว่าง 20-39 ปี ควรพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทุก 5 ปี และทุก 2-4 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-64 ปี
นอกจากนี้ ควรเลือกแว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตมาเพื่อกรองแสงจากหน้าจอโดยเฉพาะ และใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ช่วยให้สบายตา และลดแสงสะท้อนจากจอภาพ ควรพักสายตาทุกๆ ชั่วโมง โดยเปลี่ยนอิริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เพื่อพักสายตาและป้องกัน อาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นต้น
นายแพทย์พรเทพ กล่าวต่อว่า การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ดวงตามีสุขภาพดีขึ้น เช่น กินอาหารที่มีโอเมก้า 3 กินผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า แครอท อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน กินปลาแซลมอน ปลาทูน่า กินไข่ ถั่วประเภทนัท และอื่นๆ ที่ไม่ใช่แหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ส้ม ผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆ หรือน้ำผลไม้ ช่วยทำให้ร่างกายได้รับวิตามินซี นอกจากนี้ ควรสวมแว่นกันแดดที่สามารถปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต UVA และ UVB ป้องกันต้อกระจก และจอประสาทเสื่อม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เกิน 19 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
ทั้งนี้ ควรบริหารกล้ามเนื้อตา โดยการกลอกตาขึ้น-ลงช้าๆ 6 ครั้ง กลอกตาไปข้างขวา และซ้ายสลับกัน มองวัตถุใกล้ตัว และไกลตัวออกไป และกลอกตาเป็นวงกลมช้า ก็จะช่วยผ่อนคลายและส่งผลดีต่อดวงตา ซึ่งผู้มีอายุระหว่าง 20-39 ปี ควรพบจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทุก 5 ปี และทุก 2-4 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-64 ปี