นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ให้ กฟผ.จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 123 ราย และให้ชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินต้น โดยให้ กฟผ.ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ซึ่งภายหลังรับทราบคำพิพากษา กฟผ.ได้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยขอให้สำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่คำนวณค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ย เนื่องจากผู้ฟ้องคดีแต่ละรายได้รับค่าสินไหมทดแทนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้เข้ามาอาศัยในพื้นที่ และจะสามารถจ่ายเงินได้ในวันนี้ (13 มี.ค.)
ทั้งนี้ จากการคำนวณค่าสินไหมทดแทนของสำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่ สรุปเป็นเงินต้นจำนวน 26,432,400 บาท และดอกเบี้ยจนถึงวันชำระ คือ วันนี้จำนวน 22,998,887.62 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,431,287.62 บาท โดย กฟผ.จะนำแคชเชียร์เช็คไปวางต่อสำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่ จากนั้นสำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่จะแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีมารับค่าสินไหมทดแทนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ค่าสินไหมทดแทนคำนวณตามคำสั่งศาลนี้เป็นค่าทดแทนในกรณีที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2535 ถึงเดือนสิงหาคม 2541 โดยตั้งแต่เกิดปัญหาขึ้น กฟผ.ได้ติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลภาวะอื่นๆ รวมทั้งระบบตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว และศาลชี้ว่า ตั้งแต่กันยายน 2541 ถึงปัจจุบัน กฟผ.ไม่มีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานอีก เช่นเดียวกับปัญหาฝุ่นละอองที่อยู่ในการฟ้องร้องด้วยนั้น ศาลมีความเห็นว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะไม่ได้เป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย พร้อมขอให้ประชาชนมั่นใจว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าแม่เมาะปลอดภัยต่อชุมชน
ทั้งนี้ จากการคำนวณค่าสินไหมทดแทนของสำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่ สรุปเป็นเงินต้นจำนวน 26,432,400 บาท และดอกเบี้ยจนถึงวันชำระ คือ วันนี้จำนวน 22,998,887.62 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,431,287.62 บาท โดย กฟผ.จะนำแคชเชียร์เช็คไปวางต่อสำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่ จากนั้นสำนักงานศาลปกครองเชียงใหม่จะแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีมารับค่าสินไหมทดแทนต่อไป
อย่างไรก็ตาม ค่าสินไหมทดแทนคำนวณตามคำสั่งศาลนี้เป็นค่าทดแทนในกรณีที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งเกิดขึ้นเป็นบางครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2535 ถึงเดือนสิงหาคม 2541 โดยตั้งแต่เกิดปัญหาขึ้น กฟผ.ได้ติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และมลภาวะอื่นๆ รวมทั้งระบบตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว และศาลชี้ว่า ตั้งแต่กันยายน 2541 ถึงปัจจุบัน กฟผ.ไม่มีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานอีก เช่นเดียวกับปัญหาฝุ่นละอองที่อยู่ในการฟ้องร้องด้วยนั้น ศาลมีความเห็นว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะไม่ได้เป็นสาเหตุแห่งการเจ็บป่วย พร้อมขอให้ประชาชนมั่นใจว่า คุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าแม่เมาะปลอดภัยต่อชุมชน