นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์"ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่นว่า ประเด็นเร่งด่วนที่กระทรวงเกษตรฯ ต้องอาศัยความร่วมมือกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกรเป็นเครือข่ายสำคัญอยู่แล้วมาดำเนินการร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาภาคเกษตรขณะนี้มี 4 ประเด็นหลัก คือ
1.วางแผนการผลิตในฤดูกาลผลิตปีนี้และปีหน้า ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวางแผนการผลิต และข้อมูลการคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม ยาง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งปริมาณน้ำที่มีอยู่ ความพร้อมในด้านเมล็ดพันธุ์ ปัจจัยการผลิต รวมถึงสินค้าเกษตรที่มีอยู่ในสต็อก เช่น ข้าว และ ยาง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในด้านราคาของเกษตรกร
2.การสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรต่อนโยบายภาครัฐในเรื่องต่างๆ อาทิ บริหารจัดการน้ำ การปรับโครงสร้างข้าว การปรับโครงสร้างระบบสหกรณ์นอกเหนือการค้าขาย รวมถึงการเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ในการเข้ามาแก้ไขปัญหาของเกษตรกร คือ กระทรวงมหาดไทย และ คสช.
3. การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในรายละเอียดกฏหมายฉบับต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ พ.ร.บ.การยาง พ.ร.บ.รายได้และสวัสดิการเกษตรกร และ พ.ร.บ.ประมง ที่ยังมีรายละเอียดในบางส่วนที่จะต้องสร้างเวทีในการสร้างความเข้าใจร่วมกันก่อนที่กฏหมายจะมีผลบังคับใช้ และ 4 การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ให้สามารถพิสูจน์ความเป็นเกษตรกรผู้ยากจนที่ควรได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1.วางแผนการผลิตในฤดูกาลผลิตปีนี้และปีหน้า ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวางแผนการผลิต และข้อมูลการคาดการณ์ผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม ยาง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งปริมาณน้ำที่มีอยู่ ความพร้อมในด้านเมล็ดพันธุ์ ปัจจัยการผลิต รวมถึงสินค้าเกษตรที่มีอยู่ในสต็อก เช่น ข้าว และ ยาง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบในด้านราคาของเกษตรกร
2.การสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรต่อนโยบายภาครัฐในเรื่องต่างๆ อาทิ บริหารจัดการน้ำ การปรับโครงสร้างข้าว การปรับโครงสร้างระบบสหกรณ์นอกเหนือการค้าขาย รวมถึงการเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐในพื้นที่ในการเข้ามาแก้ไขปัญหาของเกษตรกร คือ กระทรวงมหาดไทย และ คสช.
3. การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในรายละเอียดกฏหมายฉบับต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ พ.ร.บ.การยาง พ.ร.บ.รายได้และสวัสดิการเกษตรกร และ พ.ร.บ.ประมง ที่ยังมีรายละเอียดในบางส่วนที่จะต้องสร้างเวทีในการสร้างความเข้าใจร่วมกันก่อนที่กฏหมายจะมีผลบังคับใช้ และ 4 การตรวจสอบข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ให้สามารถพิสูจน์ความเป็นเกษตรกรผู้ยากจนที่ควรได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน