รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงมณฑิรา ตัณฑนุช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ระบบปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานเป็นระบบส่งต่อที่สำคัญในการนำส่งผู้ป่วยจากพื้นที่เกิดเหตุไปยังโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที โดยเฉพาะผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุ และสาธารณภัยต่างๆ ซึ่งจะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการลำเลียงผู้ป่วยด้วยอากาศยาน
ดังนั้น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของภาคใต้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว จึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และตำรวจ รวมทั้งศูนย์นเรนทร หาดใหญ่ ในการฝึกอบรมและให้ความรู้ พร้อมกับซ้อมแผนเสมือนจริงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์จาก 4 เหล่าทัพ ณ อาคารรัตนชีวรักษ์ อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการทดสอบความพร้อมของอาคารรัตนชีวรักษ์ ซึ่งเป็นศูนย์อุบัติเหตุแบบเบ็ดเสร็จในภาคใต้ และเพิ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ดังนั้น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิของภาคใต้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติภารกิจดังกล่าว จึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และตำรวจ รวมทั้งศูนย์นเรนทร หาดใหญ่ ในการฝึกอบรมและให้ความรู้ พร้อมกับซ้อมแผนเสมือนจริงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์จาก 4 เหล่าทัพ ณ อาคารรัตนชีวรักษ์ อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการทดสอบความพร้อมของอาคารรัตนชีวรักษ์ ซึ่งเป็นศูนย์อุบัติเหตุแบบเบ็ดเสร็จในภาคใต้ และเพิ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา