นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการตอบรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในระบบออร์เดอร์ จำนวน 31 โครงการ โดยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 201.32 เมกะวัตต์ และมีปริมาณพลังงานไฟฟ้าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 139.2 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น เชื้อเพลิงชีวมวล 15 โครงการ รวม 90.58 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 12 โครงการ รวม 20.81 เมกะวัตต์ และขยะ 4 โครงการ รวม 27.8 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนค้างไว้ก่อนที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะมีมติให้หยุดรับซื้อไฟฟ้าในระบบออร์เดอร์ ซึ่งกระทรวงพลังงานจะเร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จากพลังงานขยะชีวมวล และก๊าซชีวภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ต้องการแก้ไขปัญหาจากขยะ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาใช้ประโยชน์เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้จากทางการเกษตร เป็นพลังงานได้มากกว่า 22,000 ตันต่อวัน เกิดการซื้อขายเชื้อเพลิงชีวมวลในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี และรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานเกษตรอุตสาหกรรมอีกจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบตอบรับซื้อไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ค้างท่อเพิ่มอีกจำนวน 25 โครงการ โดยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 212.5 เมกะวัตต์ สถานะการตอบรับซื้อไฟฟ้าจนถึงปัจจุบัน มีการตอบรับซื้อไปแล้วรวม 50 โครงการ โดยมีปริมาณกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 350.8 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตาม โครงการที่เหลือ กระทรวงพลังงาน จะเร่งตอบรับซื้อ ให้ผู้ประกอบการสามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้ภายในเดือนธันวาคม 2558 ตามมติ กพช.ต่อไป
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนค้างไว้ก่อนที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) จะมีมติให้หยุดรับซื้อไฟฟ้าในระบบออร์เดอร์ ซึ่งกระทรวงพลังงานจะเร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จากพลังงานขยะชีวมวล และก๊าซชีวภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ต้องการแก้ไขปัญหาจากขยะ และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาใช้ประโยชน์เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้จากทางการเกษตร เป็นพลังงานได้มากกว่า 22,000 ตันต่อวัน เกิดการซื้อขายเชื้อเพลิงชีวมวลในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี และรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากโรงงานเกษตรอุตสาหกรรมอีกจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบตอบรับซื้อไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ค้างท่อเพิ่มอีกจำนวน 25 โครงการ โดยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 212.5 เมกะวัตต์ สถานะการตอบรับซื้อไฟฟ้าจนถึงปัจจุบัน มีการตอบรับซื้อไปแล้วรวม 50 โครงการ โดยมีปริมาณกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 350.8 เมกะวัตต์
อย่างไรก็ตาม โครงการที่เหลือ กระทรวงพลังงาน จะเร่งตอบรับซื้อ ให้ผู้ประกอบการสามารถจ่ายไฟเข้าระบบได้ภายในเดือนธันวาคม 2558 ตามมติ กพช.ต่อไป