นางหิรัญญา สุจินัย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปชักจูงการลงทุนในประเทศญี่ปุ่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย พร้อมด้วยนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะของบีโอไอ ว่า การจัดสัมมนาชี้แจงนโยบายใหม่ของบีโอไอประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในเรื่องของความเชื่อมั่นและการชี้แจงนโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นยังยืนยันที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป
ส่วนเรื่องนโยบายใหม่ นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าใจถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมที่บีโอไอและรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญ ได้แก่ กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ และกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการลงทุนเพิ่มในด้านการวิจัย พัฒนา และการฝึกอบรมบุคลากร และกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอีโคโนมี โดยเฉพาะด้านซอต์แวร์ ซึ่งเป็นนโยบายที่ทั้งบีโอไอและรัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในไทย
สำหรับการพบปะหารือกับองค์กรเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น สมาพันธ์เศรษฐกิจคันไซ และหอการค้าและอุตสาหกรรมนาโกยา สามารถสร้างความเข้าใจต่อนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยเช่นกัน ซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นก็แสดงความสนใจต่อนโยบายที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าในภูมิภาคอย่างมาก และต้องการให้มีการชี้แจงในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านนี้
นอกจากนี้ การพบหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดไอจิ ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านยานยนต์ของญี่ปุ่น และมีบริษัทมากกว่า 280 รายเข้ามาลงทุนในไทยอยู่แล้วนั้น ได้รับคำยืนยันว่า ประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายการลงทุนของบริษัทจากจังหวัดไอจิ และผู้ว่าราชการจังหวัดไอจิ ก็มีแผนการนำคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นเดินทางมาขยายความร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี
ส่วนเรื่องนโยบายใหม่ นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าใจถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมที่บีโอไอและรัฐบาลหันมาให้ความสำคัญ ได้แก่ กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ และกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการลงทุนเพิ่มในด้านการวิจัย พัฒนา และการฝึกอบรมบุคลากร และกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลอีโคโนมี โดยเฉพาะด้านซอต์แวร์ ซึ่งเป็นนโยบายที่ทั้งบีโอไอและรัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในไทย
สำหรับการพบปะหารือกับองค์กรเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น ได้แก่ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น สมาพันธ์เศรษฐกิจคันไซ และหอการค้าและอุตสาหกรรมนาโกยา สามารถสร้างความเข้าใจต่อนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยเช่นกัน ซึ่งภาคเอกชนญี่ปุ่นก็แสดงความสนใจต่อนโยบายที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการค้าในภูมิภาคอย่างมาก และต้องการให้มีการชี้แจงในรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านนี้
นอกจากนี้ การพบหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดไอจิ ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านยานยนต์ของญี่ปุ่น และมีบริษัทมากกว่า 280 รายเข้ามาลงทุนในไทยอยู่แล้วนั้น ได้รับคำยืนยันว่า ประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายการลงทุนของบริษัทจากจังหวัดไอจิ และผู้ว่าราชการจังหวัดไอจิ ก็มีแผนการนำคณะนักธุรกิจญี่ปุ่นเดินทางมาขยายความร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี