นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงการยื่นสำนวนฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบกรณีละเลยไม่ระงับยับยั้ง โครงการรับจำนำข้าว จนทำให้รัฐเสียหายว่า นายชุติชัย สาขากร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ และนายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล อธิบดีอัยการ สำนักงานการสอบสวน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานและรองหัวหน้าคณะทำงานอัยการ จะเป็นตัวแทนของ นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด(อสส.) เดินทางไปยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาฯ ในวันนี้( 19 ก.พ.) เวลา 10.00 น.
หลังยื่นฟ้องคดีแล้ว ในเวลา 10.45 น.ทางสำนักงานอัยการสูงสุด จะแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับยื่นสำนวนฟ้องในคดีนี้
ส่วนกรณีจะคัดค้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ให้ประกันตัว หรือเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่นั้น นายโกศลวัฒน์ กล่าวว่า คงไม่มีเพราะตามขั้นตอนแล้วศาลจะต้องมีการประชุมเพื่อคัดเลือกองค์คณะให้ได้ 9 คนก่อน และเงื่อนไขต่างๆ นั้น องค์คณะผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิจารณากำหนดเอง ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปศาลฎีกาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ด้วยหรือไม่นั้น อัยการยังไม่ได้รับการประสานมาแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าร่วมประชุมกับทีมทนายความและอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เซฟเฮาส์แห่งหนึ่ง โดยมี นายพิชิต ชื่นบาน หัวหน้าทีมทนายความเข้าร่วมหารือด้วย เพื่อพิจารณาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ควรเดินทางไปรายงานตัวต่ออัยการสูงสุดในระหว่างการยื่นฟ้องคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่
ทั้งนี้ทีมทนายความได้เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปปรากฏตัวในวันที่ศาลมีมติรับฟ้อง เพื่อแสดงเอกสารยื่นขอประกันตัวทันที อย่างไรก็ตาม กลุ่มอดีต ส.ส.เพื่อไทย ได้เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปปรากฏตัวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และกลบกระแสข่าวเตรียมขอลี้ภัยหรือหลบหนีออกนอกประเทศ และเพื่อเป็นการแสดงเจตนาที่จะให้คดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง เพราะทีมทนายได้เคยแนะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ต้องไปตอบข้อซักถามของ สนช. จนกระทั่งเกิดความผิดพลาดมาแล้ว จึงไม่อยากให้เกิดความเสียหายขึ้นมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามต้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเอาเอง
ทั้งนี้คาดหมายกระบวนการของคดีอาญาที่หลังจากเข้าสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ศาลจะประชุมกันเพื่อตั้งองค์คณะเพื่อพิจารณาคดี 9 คน ในช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 45 วัน คาดว่าประมาณปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน คดีถึงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในองค์คณะ 9 คน เพื่อแถลงรับฟ้องและแถลงเปิดคดีชี้มูลความผิด ซึ่งคงจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และหากศาลต้องการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม กระบวนการในศาลฎีกาอาจใช้เวลาเกือบ 1 ปี
ขณะที่แหล่งข่าวซึ่งเป็นบุคคลใกล้ชิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตัดสินใจไม่เดินทางไปรายงานตัวในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นด้วยกับทีมทนายความที่ให้เหตุผลว่า การยื่นฟ้องเป็นเรื่องของอัยการสูงสุดที่มีหน้าที่ส่งฟ้อง ไม่ได้เป็นเรื่องของผู้ถูกกล่าวหา ที่สำคัญศาลจะพิจารณารับฟ้องเองทันทีไม่ได้ จะต้องมีการเรียกประชุมคณะตุลาการก่อนเพื่อเลือกองค์คณะ 9 คนมาพิจารณาคดี จากนั้นจึงจะมาพิจารณาว่าจะรับฟ้องหรือไม่ และเชิญอัยการสูงสุด ป.ป.ช. และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปรับฟังคำไต่สวน เมื่อถึงเวลานั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงค่อยไปแสดงตัว และหากศาลรับฟ้องก็จะมีการกำหนดวันพิจารณาคดีต่อไป
หลังยื่นฟ้องคดีแล้ว ในเวลา 10.45 น.ทางสำนักงานอัยการสูงสุด จะแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับยื่นสำนวนฟ้องในคดีนี้
ส่วนกรณีจะคัดค้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ให้ประกันตัว หรือเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่นั้น นายโกศลวัฒน์ กล่าวว่า คงไม่มีเพราะตามขั้นตอนแล้วศาลจะต้องมีการประชุมเพื่อคัดเลือกองค์คณะให้ได้ 9 คนก่อน และเงื่อนไขต่างๆ นั้น องค์คณะผู้พิพากษาจะเป็นผู้พิจารณากำหนดเอง ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปศาลฎีกาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ด้วยหรือไม่นั้น อัยการยังไม่ได้รับการประสานมาแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เข้าร่วมประชุมกับทีมทนายความและอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เซฟเฮาส์แห่งหนึ่ง โดยมี นายพิชิต ชื่นบาน หัวหน้าทีมทนายความเข้าร่วมหารือด้วย เพื่อพิจารณาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ควรเดินทางไปรายงานตัวต่ออัยการสูงสุดในระหว่างการยื่นฟ้องคดีอาญาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หรือไม่
ทั้งนี้ทีมทนายความได้เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปปรากฏตัวในวันที่ศาลมีมติรับฟ้อง เพื่อแสดงเอกสารยื่นขอประกันตัวทันที อย่างไรก็ตาม กลุ่มอดีต ส.ส.เพื่อไทย ได้เสนอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปปรากฏตัวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และกลบกระแสข่าวเตรียมขอลี้ภัยหรือหลบหนีออกนอกประเทศ และเพื่อเป็นการแสดงเจตนาที่จะให้คดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง เพราะทีมทนายได้เคยแนะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ต้องไปตอบข้อซักถามของ สนช. จนกระทั่งเกิดความผิดพลาดมาแล้ว จึงไม่อยากให้เกิดความเสียหายขึ้นมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามต้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเอาเอง
ทั้งนี้คาดหมายกระบวนการของคดีอาญาที่หลังจากเข้าสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ศาลจะประชุมกันเพื่อตั้งองค์คณะเพื่อพิจารณาคดี 9 คน ในช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 45 วัน คาดว่าประมาณปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน คดีถึงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในองค์คณะ 9 คน เพื่อแถลงรับฟ้องและแถลงเปิดคดีชี้มูลความผิด ซึ่งคงจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และหากศาลต้องการแสวงหาหลักฐานเพิ่มเติม กระบวนการในศาลฎีกาอาจใช้เวลาเกือบ 1 ปี
ขณะที่แหล่งข่าวซึ่งเป็นบุคคลใกล้ชิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตัดสินใจไม่เดินทางไปรายงานตัวในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ เนื่องจากเห็นด้วยกับทีมทนายความที่ให้เหตุผลว่า การยื่นฟ้องเป็นเรื่องของอัยการสูงสุดที่มีหน้าที่ส่งฟ้อง ไม่ได้เป็นเรื่องของผู้ถูกกล่าวหา ที่สำคัญศาลจะพิจารณารับฟ้องเองทันทีไม่ได้ จะต้องมีการเรียกประชุมคณะตุลาการก่อนเพื่อเลือกองค์คณะ 9 คนมาพิจารณาคดี จากนั้นจึงจะมาพิจารณาว่าจะรับฟ้องหรือไม่ และเชิญอัยการสูงสุด ป.ป.ช. และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปรับฟังคำไต่สวน เมื่อถึงเวลานั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงค่อยไปแสดงตัว และหากศาลรับฟ้องก็จะมีการกำหนดวันพิจารณาคดีต่อไป