xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มสิทธิฯอังกฤษจวกรบ.ทหารไทยเหลวแก้ปัญหาค้ามนุษย์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กลุ่มสิทธิมนุษยชนอังกฤษ ระบุในวันอังคาร(17ก.พ.) ว่าความพยายามของไทยในการต่อสู้กับปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงมูลค่าพลายพันล้านดอลลาร์ "ไม่เพียงพอโดยสิ้นเชิง" และล้มเหลวหยุดยั้งเหล่าเจ้าหน้าที่ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับขบวนการค้ามนุษย์และล่วงละเมิดแรงงาน แถมยังแนะนำให้สหรัฐฯคงสถานะไทยให้อยู่ใน เทียร์ 3 ต่อไป

เมื่อปีที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ปรับลดระดับไทยไปอยู่ในกลุ่ม "เทียร์ 3" หรือประเทศที่ล้มเหลวในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ เคียงข้างชาติอื่นๆอีก 22 ประเทศ ในนั้นรวมถึงเกาหลีเหนือ อิหร่านและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี 2014

รัฐบาลที่หนุนหลังโดยทหารของไทยเมื่อเดือนที่แล้ว แสดงความมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อปรับปรุงอันดับของประเทศ แต่ มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม (London-based Environmental Justice Foundation) ระบุในวันอังคาร(17ก.พ.) ว่าไทยยังคงล้มเหลวในการป้องกันการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิในอุตสาหกรรมประมง

"เมื่อปีที่แล้ว เราไม่เห็นหรือได้ยินอะไรที่บ่งชี้ว่าไทยได้ดำเนินการอย่างมีความหมายสำหรับจัดการกับสาเหตุรากเหง้าของการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิ" ตีฟ เทรนท์ กรรมการบริหารของมูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมระบุในถ้อยแถลง "รัฐบาลไทยต้องดำเนินมาตรการที่ชัดเจน มีผลสำคัญและต่อเนื่องเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง"

มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อม(EJF) ระบุในเอกสารสรุปว่าไทยล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการคอรัปชันของพวกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมถึงหาตัวเหยื่อค้ามนุษย์และเหยื่อแรงงานบังคับบนเรือประมง แม้ว่าพวกเขาได้ปฏิบัติการลาดตระเวนตรวจตราตามทะเลเมื่อปีที่แล้วก็ตาม

มูลนิธิความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมชี้ว่ารัฐบาลไทยไม่ใส่ใจจัดการกับอุตสาหกรรมนายหน้าแรงงานที่ไร้กฎระเบียบ ที่ภาคเอกชนบอกว่าเป็นผู้อำนวยความสะดวกหลักในขบวนการค้ามนษย์และละเมิดแรงงานต่างด้าว "จากความล้มเหลวเหล่านี้และการเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบของการค้ามนุษย์และล่วงละเมิดต่างๆในอุตสาหกรรมประมงตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ทาง EJF ของแนะนำอย่างหนักแน่นว่าไทยควรยังอยู่ใน เทียร์ 3 ต่อไปในปี 2015" EJF กล่าว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้มาตรการต่างๆนานาและปฏิรูปเพื่อต่อสู้กับปัญหาค้ามนุษย์
กำลังโหลดความคิดเห็น