นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แถลงถึงกรณีที่องค์กรสิทธิมนุษยชน ออกมาคัดค้านการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร และเรียกร้องให้ สนช.หยุดการพิจารณากฎหมายดังกล่าว ว่า การแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ดังล่าวไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการลิดรอนสิทธิบุคคลใด และไม่ได้เพิ่มอำนาจให้ศาลทหารในการดำเนินการละเมิดสิทธิบุคคลเพิ่มขึ้น แต่เป็นการปรับปรุงคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องหาของศาลทหาร ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั่วไป เช่น การให้ศาลตั้งทนายให้กับจำเลย การไม่ให้ศาลทหารพิพากษาเกินคำฟ้องการเพิ่มระยะเวลาอุทธรณ์และฎีกา จาก 15 วัน เป็น 30 วัน
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ไม่มีประเด็นที่กระทบกับสิทธิของจำเลย หรือผู้ต้องหาในคดีที่ขึ้นศาลทหาร
อย่างไรก็ตาม แม้กฎอัยการศึกจะกำหนดให้คดีอาญาบางประเภทต้องขึ้นสู่ศาลทหาร แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ระมัดระวังการใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นอย่างมาก โดยคดีอาญาที่จะขึ้นศาลทหารได้มีเพียง 2 ประเภท คือ คดีหมิ่นสถาบัน และคดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ซึ่งต่างไปจากอดีต ที่คดีอาญาจำนวนมากที่ต้องขึ้นศาลทหาร สะท้อนให้เห็นว่าการคงกฎอัยการศึก และการมีศาลทหาร ก็จำกัดประเภทคดีและมีผู้ฝ่าฝืนจำนวนไม่มากนัก
นายพรเพชร กล่าวอีกว่า จะเห็นว่าในทางปฏิบัติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก และศาลทหารมีขอบเขต มีการประนีประนอมตามสังคมไทยที่ต้องอยู่ร่วมกัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อนำไปสู่บรรยากาศปรองดอง และการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ไม่มีประเด็นที่กระทบกับสิทธิของจำเลย หรือผู้ต้องหาในคดีที่ขึ้นศาลทหาร
อย่างไรก็ตาม แม้กฎอัยการศึกจะกำหนดให้คดีอาญาบางประเภทต้องขึ้นสู่ศาลทหาร แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ระมัดระวังการใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นอย่างมาก โดยคดีอาญาที่จะขึ้นศาลทหารได้มีเพียง 2 ประเภท คือ คดีหมิ่นสถาบัน และคดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ซึ่งต่างไปจากอดีต ที่คดีอาญาจำนวนมากที่ต้องขึ้นศาลทหาร สะท้อนให้เห็นว่าการคงกฎอัยการศึก และการมีศาลทหาร ก็จำกัดประเภทคดีและมีผู้ฝ่าฝืนจำนวนไม่มากนัก
นายพรเพชร กล่าวอีกว่า จะเห็นว่าในทางปฏิบัติการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก และศาลทหารมีขอบเขต มีการประนีประนอมตามสังคมไทยที่ต้องอยู่ร่วมกัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อนำไปสู่บรรยากาศปรองดอง และการเลือกตั้ง