นายอลงกรณ์ พลบุตร โฆษกคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) ทวิตบนทวิตเตอร์ส่วนตัว ระบุถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมเปิดเวทีถกสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ว่าการที่รัฐบาลเปิดเวทีกลางรับฟังความเห็นเรื่อง สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 และการขยายเวลาการยื่นคำขอสัมปทานออกไปนับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง รัฐบาลจะมีเวลาในการทบทวนเรื่องสำคัญๆ ได้แก่การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม การปรับหลักเกณฑ์คำขอสัมปทาน และการตัดสินใจอนาคตของแหล่งปิโตรเลียมในทะเล
นายอลงกรณ์ ระบุอีกว่า ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่มีข้อเท็จจริงบางประการที่ขาดหายไปเกี่ยวกับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตไฟฟ้าในอนาคตกระทรวงพลังงานอ้างเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานว่า ถ้าไม่เร่งเปิดสัมปทานรอบ 21 จะไม่มีก๊าซธรรมชาติใน 7 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นข้ออ้างที่คลาดเคลื่อน
ทั้งนี้ ฐานข้อมูลของ ปตท.ระบุว่า เราจะมีก๊าซธรรมชาติใช้ได้อีก 20 ปี ถ้าไม่มีการสำรวจและผลิตเพิ่มเติม ตัวเลข 20 ปีของ ปตท.กับ 7 ปีต่างกันเกือบ 3 เท่าตัว และยิ่งกว่านั้นความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติใน 7 ปีข้างหน้าจะไม่เพิ่มจากวันนี้เท่าใดนัก เพราะกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองขณะนี้เกินอยู่ 25% และจะเป็น 44% ใน 6 ปี
นอกจากนี้ การไฟฟ้ากำลังหาทางเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ที่ทำสัญญา PPA ผูกพันไว้แล้วในระยะจากนี้ไป 6 ปี ไม่เช่นนั้นกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองจะเกินกว่า 10,000 MW
นายอลงกรณ์ ระบุอีกว่า ความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่มีข้อเท็จจริงบางประการที่ขาดหายไปเกี่ยวกับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตไฟฟ้าในอนาคตกระทรวงพลังงานอ้างเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานว่า ถ้าไม่เร่งเปิดสัมปทานรอบ 21 จะไม่มีก๊าซธรรมชาติใน 7 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นข้ออ้างที่คลาดเคลื่อน
ทั้งนี้ ฐานข้อมูลของ ปตท.ระบุว่า เราจะมีก๊าซธรรมชาติใช้ได้อีก 20 ปี ถ้าไม่มีการสำรวจและผลิตเพิ่มเติม ตัวเลข 20 ปีของ ปตท.กับ 7 ปีต่างกันเกือบ 3 เท่าตัว และยิ่งกว่านั้นความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติใน 7 ปีข้างหน้าจะไม่เพิ่มจากวันนี้เท่าใดนัก เพราะกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองขณะนี้เกินอยู่ 25% และจะเป็น 44% ใน 6 ปี
นอกจากนี้ การไฟฟ้ากำลังหาทางเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆ ที่ทำสัญญา PPA ผูกพันไว้แล้วในระยะจากนี้ไป 6 ปี ไม่เช่นนั้นกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองจะเกินกว่า 10,000 MW