คณะกรรมการประสานงานของประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อพิจารณาความคืบหน้ารายงานของคณะกรรมาธิการ 18 คณะ และคณะกรรมการชุดพิเศษ 5 คณะ มีตัวแทนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ประชุมร่วมกันเมื่อเวลา 11.30 น.
ทั้งนี้ สปช.รายงานความคืบหน้าวาระการปฏิรูป 36 วาระอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความคล่องตัวในการปฏิรูป เพราะการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ครั้งที่ผ่านมาเป็นการรายงานเพียงคร่าวๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการทั้ง 18 คณะ จะรายงานให้ประธาน สปช.รับทราบว่าแต่ละคณะมีเรื่องใดเสร็จแล้วบ้าง และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมได้เมื่อใด เนื่องจากประธาน สปช.กำหนดว่า กรอบการปฏิรูปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ และต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เมษายน 2558
ทั้งนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องการแก้ไขข้อบังคับการประชุม สปช. เนื่องจากเห็นว่าวิป สปช.มีความจำเป็นต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับคณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงต้องการแก้ข้อบังคับในสัดส่วนของวิป สปช. โดยให้บุคคลจากคณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้ามาร่วมเป็นวิป สปช.ได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการแก้ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูป ซึ่งต่อจากนี้ไปหากเป็นเรื่องกฎหมาย จะพิจารณาโดยเร็ว และจะไม่มีกระบวนการแปรญัตติ แต่ให้ที่ประชุมพิจารณาให้เสร็จภายใน 7 วัน และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ สปช.รายงานความคืบหน้าวาระการปฏิรูป 36 วาระอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความคล่องตัวในการปฏิรูป เพราะการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ครั้งที่ผ่านมาเป็นการรายงานเพียงคร่าวๆ ไม่ได้ลงรายละเอียด
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการทั้ง 18 คณะ จะรายงานให้ประธาน สปช.รับทราบว่าแต่ละคณะมีเรื่องใดเสร็จแล้วบ้าง และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมได้เมื่อใด เนื่องจากประธาน สปช.กำหนดว่า กรอบการปฏิรูปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ และต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เมษายน 2558
ทั้งนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องการแก้ไขข้อบังคับการประชุม สปช. เนื่องจากเห็นว่าวิป สปช.มีความจำเป็นต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับคณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงต้องการแก้ข้อบังคับในสัดส่วนของวิป สปช. โดยให้บุคคลจากคณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้ามาร่วมเป็นวิป สปช.ได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการแก้ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูป ซึ่งต่อจากนี้ไปหากเป็นเรื่องกฎหมาย จะพิจารณาโดยเร็ว และจะไม่มีกระบวนการแปรญัตติ แต่ให้ที่ประชุมพิจารณาให้เสร็จภายใน 7 วัน และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป