ผู้นำตะวันตกพากันตบเท้าเข้ากรุงเคียฟ หวังคลี่คลายวิกฤตในยูเครนตะวันออก ทว่า ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น เคร์รี เดินทางไปพร้อมแผนการในใจในการติดอาวุธให้ยูเครน นายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ของฝรั่งเศส กลับนัดหมายหอบแผนการริเริ่มใหม่เพื่อระงับการสู้รบไปเสนอรัฐบาลยูเครนตอนเย็นวันพฤหัสบดี (5ก.พ.) ก่อนบินไปล็อบบี้มอสโกต่อในวันรุ่งขึ้น
รัฐมนตรีต่างประเทศเคร์รีของสหรัฐฯ เดินทางถึงกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนในวันพฤหัสบดี ท่ามกลางความหวังของผู้นำยูเครนว่า วอชิงตันจะส่งมอบอาวุธให้ไปต่อสู้กับพวกกบฏโปรรัสเซีย และขณะที่นานาชาติกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อยุติความรุนแรงในยูเครนตะวันออกที่ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 19 ราย
อย่างไรก็ดี แม้มีข่าวคราวหนาหูว่า วอชิงตันกำลังเปลี่ยนท่าทีและอาจติดอาวุธสังหารให้กองกำลังยูเครน กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า เคร์รีเยือนเคียฟเพื่อมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 16 ล้านดอลลาร์เท่านั้น โดยรัฐมนตรีต่างประเทศแดนอินทรีได้เข้าพบประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก และนายกรัฐมนตรีอาร์เซนีย์ ยัตเซนยุคของยูเครน จากนั้นก็จะบินไปร่วมประชุมด้านความมั่นคงในมิวนิกวันศุกร์ (6) ซึ่งจะมีเซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ร่วมวงด้วย
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีออลลองด์ของฝรั่งเศส เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี ระหว่างการแถลงข่าวที่จัดขึ้นทุก 6 เดือนว่า ตนและนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี จะเดินทางสู่เคียฟในช่วงเย็นวันเดียวกัน เพื่อเสนอมาตรการริเริ่มใหม่ในการระงับการสู้รบในยูเครนตะวันออก
เขาบอกว่าหลังจากความพยายามทางการทูตหลายต่อหลายครั้งประสบความล้มเหลวในการยุติการสู้รบในยูเครนตะวันออก เขากับแมร์เคิลก็ตกลงที่จะเสนอแผนการริเริ่มใหม่แก่คู่สงครามทั้งหลาย
“เราจะเสนอหนทางใหม่ในการแก้ไขการพิพาททำศึกกันคราวนี้ โดยอิงอยู่กับบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน เราจะหารือแผนการนี้กับประธานาธิบดีโปโรเชนโกวันวันพฤหัสบดี และในวันศุกร์ในมอสโกก็จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย”
ออลลองด์กล่าวว่า หนทางเลือกประการหนึ่งซึ่งกำลังแพร่ไปในโลกตะวันตกก็คือ การติดอาวุธให้แก่ผู้ที่ทำสงครามกันอยู่ ในเมื่อรัสเซียได้ติดอาวุธให้แก่พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการส่งให้แก่ชาวยูเครน เพื่อให้พวกเขาสามารถป้องกันตนเองได้
เขาระบุว่า ฝรั่งเศสยังไม่ได้เข้าร่วมในการถกเถียงเกี่ยวกับหนทางติดอาวุธนี้ ทว่ายังคงมีหนทางเลือกอีกประการหนึ่ง นั่นคือหนทางในทางการทูตการเจรจากัน แต่เราย่อมไม่อาจใช้หนทางนี้ไปอย่างไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดได้
รัฐมนตรีต่างประเทศเคร์รีของสหรัฐฯ เดินทางถึงกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนในวันพฤหัสบดี ท่ามกลางความหวังของผู้นำยูเครนว่า วอชิงตันจะส่งมอบอาวุธให้ไปต่อสู้กับพวกกบฏโปรรัสเซีย และขณะที่นานาชาติกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อยุติความรุนแรงในยูเครนตะวันออกที่ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 19 ราย
อย่างไรก็ดี แม้มีข่าวคราวหนาหูว่า วอชิงตันกำลังเปลี่ยนท่าทีและอาจติดอาวุธสังหารให้กองกำลังยูเครน กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า เคร์รีเยือนเคียฟเพื่อมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 16 ล้านดอลลาร์เท่านั้น โดยรัฐมนตรีต่างประเทศแดนอินทรีได้เข้าพบประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก และนายกรัฐมนตรีอาร์เซนีย์ ยัตเซนยุคของยูเครน จากนั้นก็จะบินไปร่วมประชุมด้านความมั่นคงในมิวนิกวันศุกร์ (6) ซึ่งจะมีเซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ร่วมวงด้วย
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีออลลองด์ของฝรั่งเศส เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี ระหว่างการแถลงข่าวที่จัดขึ้นทุก 6 เดือนว่า ตนและนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี จะเดินทางสู่เคียฟในช่วงเย็นวันเดียวกัน เพื่อเสนอมาตรการริเริ่มใหม่ในการระงับการสู้รบในยูเครนตะวันออก
เขาบอกว่าหลังจากความพยายามทางการทูตหลายต่อหลายครั้งประสบความล้มเหลวในการยุติการสู้รบในยูเครนตะวันออก เขากับแมร์เคิลก็ตกลงที่จะเสนอแผนการริเริ่มใหม่แก่คู่สงครามทั้งหลาย
“เราจะเสนอหนทางใหม่ในการแก้ไขการพิพาททำศึกกันคราวนี้ โดยอิงอยู่กับบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน เราจะหารือแผนการนี้กับประธานาธิบดีโปโรเชนโกวันวันพฤหัสบดี และในวันศุกร์ในมอสโกก็จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย”
ออลลองด์กล่าวว่า หนทางเลือกประการหนึ่งซึ่งกำลังแพร่ไปในโลกตะวันตกก็คือ การติดอาวุธให้แก่ผู้ที่ทำสงครามกันอยู่ ในเมื่อรัสเซียได้ติดอาวุธให้แก่พวกกบฏแบ่งแยกดินแดนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการส่งให้แก่ชาวยูเครน เพื่อให้พวกเขาสามารถป้องกันตนเองได้
เขาระบุว่า ฝรั่งเศสยังไม่ได้เข้าร่วมในการถกเถียงเกี่ยวกับหนทางติดอาวุธนี้ ทว่ายังคงมีหนทางเลือกอีกประการหนึ่ง นั่นคือหนทางในทางการทูตการเจรจากัน แต่เราย่อมไม่อาจใช้หนทางนี้ไปอย่างไม่มีระยะเวลาสิ้นสุดได้