นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 40 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้กลางปี 2559 ซึ่งเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ กทพ. ร่วมกับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างดำเนินการออกแบบและก่อสร้างโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 โดยปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้
สำหรับทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยรับรถจากถนนกาญจนาภิเษก พื้นที่ฝั่งตะวันตกวิ่งเข้าสู่ระบบทางพิเศษศรีรัชเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยมีเส้นทางโครงการเริ่มจากถนนกาญจนาภิเษกไปตามแนวเขตทางรถไฟ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 6 จนถึงบริเวณย่านบางซื่อและเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 ระยะทาง รวมประมาณ 17 กิโลเมตรมีทางขึ้น-ลง 6 จุด ประกอบด้วย ถนนกาญจนาภิเษก ถนนราชพฤกษ์ ถนนบางบำหรุ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนพระราม 6 และถนนกำแพงเพชร
ทั้งนี้ กทพ. ร่วมกับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างดำเนินการออกแบบและก่อสร้างโครงการทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 โดยปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างมีความคืบหน้าเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้
สำหรับทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยรับรถจากถนนกาญจนาภิเษก พื้นที่ฝั่งตะวันตกวิ่งเข้าสู่ระบบทางพิเศษศรีรัชเข้าสู่พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยมีเส้นทางโครงการเริ่มจากถนนกาญจนาภิเษกไปตามแนวเขตทางรถไฟ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 6 จนถึงบริเวณย่านบางซื่อและเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งหมอชิต 2 ระยะทาง รวมประมาณ 17 กิโลเมตรมีทางขึ้น-ลง 6 จุด ประกอบด้วย ถนนกาญจนาภิเษก ถนนราชพฤกษ์ ถนนบางบำหรุ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนพระราม 6 และถนนกำแพงเพชร