นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ มอบให้ สทศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเรื่องการปรับลดวิชาสอบโอเน็ตลงนั้น จากการหารือร่วมกันทุกฝ่ายมีมติว่า ควรปรับลดการสอบโอเน็ตจากเดิมทั้งหมด 8 กลุ่มสาระฯ เหลือ 5 กลุ่ม ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษาฯ
โดยใน 4 กลุ่มสาระฯแรก สทศ.จะเป็นผู้ออกข้อสอบตามเดิม ส่วนกลุ่มสาระฯ สังคมศึกษาฯ จะแบ่งการสอบเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการวัดความรู้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อาจจะเป็นเชิงความจำ เช่น ประเทศไทยมีกี่จังหวัด และวัดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคำถามจะเป็นในรูปแบบให้เด็กคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่การถามความจำ สทศ.จะเป็นผู้ออกข้อสอบ และส่วนที่ 2 เป็นการสอบภาคปฏิบัติในวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศาสนา วัฒนธรรม เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ จะให้โรงเรียนเป็นผู้ออกข้อสอบเอง
“การปรับลดการสอบโอเน็ตครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยให้โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกข้อสอบด้วย แต่ก็ยังมีข้อกังวลว่า หากให้เรียนจัดสอบเอง จะมีการช่วยเหลือเด็กเพื่อให้ได้คะแนนดีหรือไม่ ซึ่งก็จะทำให้การสอบไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นสพฐ.จะต้องไปหาวิธีการประเมิน เพื่อให้การจัดสอบในส่วนนี้ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ”นพ.ธีระเกียรติกล่าวและว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้ สทศ.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาแล้ว คาดว่าจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ศธ.ต่อไป หากเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) กล่าวว่า การปรับลดวิชาสอบโอเน็ตครั้งนี้ คงต้องนำไปหารือกับหน่วยงานที่ใช้คะแนนโอเน็ตด้วย โดยเฉพาะที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)ซึ่งใช้คะแนนโอเน็ต 8 กลุ่มสาระฯ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่น ในสัดส่วน 30% ดังนั้นหากมีการปรับลดการสอบเหลือ 5 กลุ่มสาระฯ คะแนนก็จะไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ จึงต้องไปหารือกับทปอ.ด้วยว่าเห็นด้วยกับการปรับลดครั้งนี้หรือไม่ เพราะตามปกติแล้วหาก ทปอ.จะปรับเปลี่ยนองค์ประกอบแอดมิชชั่นต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อม
ส่วนดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำงานร่วมกับ สทศ. ในการเตรียมความพร้อม และพัฒนา เพื่อเพิ่มคะแนนโอเน็ตของนักเรียน ซึ่งการสอบครั้งนี้จะช่วยทำให้รู้จุดอ่อน และจุดแข็งของแต่ละพื้นที่ เพื่อจะได้ไปปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดี และเพิ่มคะแนนโอเน็ตให้ได้ตามเป้าหมายที่ ศธ.กำหนดไว้
โดยใน 4 กลุ่มสาระฯแรก สทศ.จะเป็นผู้ออกข้อสอบตามเดิม ส่วนกลุ่มสาระฯ สังคมศึกษาฯ จะแบ่งการสอบเป็น 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นการวัดความรู้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อาจจะเป็นเชิงความจำ เช่น ประเทศไทยมีกี่จังหวัด และวัดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคำถามจะเป็นในรูปแบบให้เด็กคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่การถามความจำ สทศ.จะเป็นผู้ออกข้อสอบ และส่วนที่ 2 เป็นการสอบภาคปฏิบัติในวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศาสนา วัฒนธรรม เพราะเป็นวิชาที่ต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ จะให้โรงเรียนเป็นผู้ออกข้อสอบเอง
“การปรับลดการสอบโอเน็ตครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยให้โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกข้อสอบด้วย แต่ก็ยังมีข้อกังวลว่า หากให้เรียนจัดสอบเอง จะมีการช่วยเหลือเด็กเพื่อให้ได้คะแนนดีหรือไม่ ซึ่งก็จะทำให้การสอบไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นสพฐ.จะต้องไปหาวิธีการประเมิน เพื่อให้การจัดสอบในส่วนนี้ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ”นพ.ธีระเกียรติกล่าวและว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้ สทศ.ได้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาแล้ว คาดว่าจะนำเข้าหารือในที่ประชุม ศธ.ต่อไป หากเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) กล่าวว่า การปรับลดวิชาสอบโอเน็ตครั้งนี้ คงต้องนำไปหารือกับหน่วยงานที่ใช้คะแนนโอเน็ตด้วย โดยเฉพาะที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)ซึ่งใช้คะแนนโอเน็ต 8 กลุ่มสาระฯ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่น ในสัดส่วน 30% ดังนั้นหากมีการปรับลดการสอบเหลือ 5 กลุ่มสาระฯ คะแนนก็จะไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ จึงต้องไปหารือกับทปอ.ด้วยว่าเห็นด้วยกับการปรับลดครั้งนี้หรือไม่ เพราะตามปกติแล้วหาก ทปอ.จะปรับเปลี่ยนองค์ประกอบแอดมิชชั่นต้องประกาศล่วงหน้า 3 ปี เพื่อให้เด็กได้เตรียมความพร้อม
ส่วนดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ทำงานร่วมกับ สทศ. ในการเตรียมความพร้อม และพัฒนา เพื่อเพิ่มคะแนนโอเน็ตของนักเรียน ซึ่งการสอบครั้งนี้จะช่วยทำให้รู้จุดอ่อน และจุดแข็งของแต่ละพื้นที่ เพื่อจะได้ไปปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดี และเพิ่มคะแนนโอเน็ตให้ได้ตามเป้าหมายที่ ศธ.กำหนดไว้