ราคาทองคำเมื่อวันพฤหัสบดี (29ม.ค.) ทำสถิติร่วงลงวันเดียวคิดเป็นเปอร์เซ็นต์รุนแรงที่สุดในรอบ 13 เดือน หลังนักลงทุนขายสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสไม่ว่าจะเป็นยอดผู้ขอเข้ารับสิทธิประโยชน์คนว่างงานสหรัฐฯที่ลดลง และธนาคารกลางอเมริกา(เฟด) ยืนยันไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ย โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ ลดลง 31.30 ดอลลาร์หรือร้อยละ 2.4 ปิดที่ 1,254.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด ของตลาดนิวยอร์ก งวดส่งมอบเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ ปิดที่ 44.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงไปถึง 43.58 ดอลลาร์ ต่ำกว่าระดับ 44 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน ก็ผันผวนเช่นกัน ก่อนเพิ่มขึ้น 66 เซนต์ ปิดที่ 49.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ความเคลื่อนไหวอันผันผวนมีขึ้นตามหลังราคาร่วงหนักเมื่อวันพุธ(28) จากคลังน้ำมันดิบสำรองที่สูงลิ่วของสหรัฐฯ โดยกระทรวงพลังงานอเมริกา รายงานว่าสต๊อกน้ำมันดิบของประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึง 8.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 406.7 ล้านบาร์เรล สูงที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกาเริ่มจดบันทึกข้อมูลรายสัปดาห์ในปี 1982 ส่งสัญญาณว่าน้ำมันยังคงอยู่ในช่วงขาลง
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่า ราคาน้ำมันขยับขึ้นในวันพฤหสบดี(29ม.ค.) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความผันผวนของตลาดกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าช้อนซื้อน้ำมันราคาถูกเพื่อเก็งกำไร
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2543 นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,416.85 จุด พุ่งขึ้น 225.48 จุด หรือ +1.31% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,683.41 จุด เพิ่มขึ้น 45.42 จุด หรือ +0.98% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,021.25 จุด เพิ่มขึ้น 19.09 จุด หรือ +0.95%
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด ของตลาดนิวยอร์ก งวดส่งมอบเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ ปิดที่ 44.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงหนึ่งขยับลงไปถึง 43.58 ดอลลาร์ ต่ำกว่าระดับ 44 ดอลลาร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน ก็ผันผวนเช่นกัน ก่อนเพิ่มขึ้น 66 เซนต์ ปิดที่ 49.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ความเคลื่อนไหวอันผันผวนมีขึ้นตามหลังราคาร่วงหนักเมื่อวันพุธ(28) จากคลังน้ำมันดิบสำรองที่สูงลิ่วของสหรัฐฯ โดยกระทรวงพลังงานอเมริกา รายงานว่าสต๊อกน้ำมันดิบของประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึง 8.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 406.7 ล้านบาร์เรล สูงที่สุดนับตั้งแต่รัฐบาลอเมริกาเริ่มจดบันทึกข้อมูลรายสัปดาห์ในปี 1982 ส่งสัญญาณว่าน้ำมันยังคงอยู่ในช่วงขาลง
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองว่า ราคาน้ำมันขยับขึ้นในวันพฤหสบดี(29ม.ค.) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความผันผวนของตลาดกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าช้อนซื้อน้ำมันราคาถูกเพื่อเก็งกำไร
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (29 ม.ค.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2543 นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,416.85 จุด พุ่งขึ้น 225.48 จุด หรือ +1.31% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,683.41 จุด เพิ่มขึ้น 45.42 จุด หรือ +0.98% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,021.25 จุด เพิ่มขึ้น 19.09 จุด หรือ +0.95%