นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ข่าวด้านเศรษฐกิจในสังคมไทยที่ผ่านมาได้เกิดความเคลื่อนไหวมากมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของนิติบุคคลที่อาจจะส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจหรือสร้างความเคลือบแคลงสงสัยในสังคมไทย เช่น กรณีแชร์ลูกโซ่ การจดทะเบียนของนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนจำนวนเงินสูงผิดปกติโดยที่ไม่เงินทุนเข้ามาในกิจการจริง หรือแม้กระทั่งการยักยอกทรัพย์กรณีของสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งหมดนี้ถือเป็นภารกิจสำคัญด้านหนึ่งของกรมฯ ซึ่งจะใช้อำนาจตามกฎหมายเข้าไปตรวจสอบการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความโปร่งใสในการทำธุรกิจและกำกับธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจให้เป็นไปอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบไปยังพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อีกด้วย
จากภารกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งเป็นต้นสายปลายทางในการดำเนินธุรกิจมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาและสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล รวมทั้งการกำกับดูแลธุรกิจเพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้แก่ภาคธุรกิจไทย
ทั้งนี้ กรมฯ ได้กำหนดเป้าหมายการตรวจสอบทางบัญชีของภาคธุรกิจกว่า 300,000 ราย ทั่วประเทศภายในปี 2558 เพื่อให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงิน ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและตามความเป็นจริง โดยเฉพาะกลุ่มที่จดทะเบียนโดยใช้วงเงินสูง จะมีการตรวจสอบเข้มข้นมากขึ้น
สำหรับผลการตรวจสอบธุรกิจจำนวน 13,000 ราย ในช่วงไตรมาสแรก (ตุลาคม-ธันวาคม 2557) โดยวิเคราะห์จากข้อมูลงบการเงินที่นำส่งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและการเรียกบัญชีธุรกิจมาตรวจสอบ การจัดทำบัญชีพบว่า ร้อยละ 97.63 ของงบการเงินไม่พบข้อบกพร้องใดๆ
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้วิเคราะห์ลึกลงไปจากการเรียกบัญชีธุรกิจมาตรวจสอบพบว่า ร้อยละ 15 มีการจัดทำบัญชีถูกต้องแต่มีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 80 ได้กระทำผิดกฎหมายโดยฝ่าฝืนคำสั่งสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งธุรกิจในกลุ่มนี้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งมีโทษทั้งจำคุกและปรับ นอกจากนี้ จะถูกติดตามในปีถัดไป รวมทั้งกรมฯ จะจัดส่งรายชื่อธุรกิจกิจดังกล่าวที่กระทำผิดกฎหมายไปยังกรมสรรพากรและสภาวิชาชีพเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจสอบไปยังพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) อีกด้วย
จากภารกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งเป็นต้นสายปลายทางในการดำเนินธุรกิจมีหน้าที่สำคัญในการพัฒนาและสร้างศักยภาพของภาคธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล รวมทั้งการกำกับดูแลธุรกิจเพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้แก่ภาคธุรกิจไทย
ทั้งนี้ กรมฯ ได้กำหนดเป้าหมายการตรวจสอบทางบัญชีของภาคธุรกิจกว่า 300,000 ราย ทั่วประเทศภายในปี 2558 เพื่อให้มีการจัดทำบัญชีและงบการเงิน ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินและตามความเป็นจริง โดยเฉพาะกลุ่มที่จดทะเบียนโดยใช้วงเงินสูง จะมีการตรวจสอบเข้มข้นมากขึ้น
สำหรับผลการตรวจสอบธุรกิจจำนวน 13,000 ราย ในช่วงไตรมาสแรก (ตุลาคม-ธันวาคม 2557) โดยวิเคราะห์จากข้อมูลงบการเงินที่นำส่งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและการเรียกบัญชีธุรกิจมาตรวจสอบ การจัดทำบัญชีพบว่า ร้อยละ 97.63 ของงบการเงินไม่พบข้อบกพร้องใดๆ
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้วิเคราะห์ลึกลงไปจากการเรียกบัญชีธุรกิจมาตรวจสอบพบว่า ร้อยละ 15 มีการจัดทำบัญชีถูกต้องแต่มีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย และร้อยละ 80 ได้กระทำผิดกฎหมายโดยฝ่าฝืนคำสั่งสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งธุรกิจในกลุ่มนี้จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งมีโทษทั้งจำคุกและปรับ นอกจากนี้ จะถูกติดตามในปีถัดไป รวมทั้งกรมฯ จะจัดส่งรายชื่อธุรกิจกิจดังกล่าวที่กระทำผิดกฎหมายไปยังกรมสรรพากรและสภาวิชาชีพเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป