นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ในช่วงนี้มักเกิดไฟป่าขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สาเหตุสำคัญมักเกิดจากการเผาไร่ ฟางข้าว ซังข้าวโพด หญ้า และวัชพืช ในพื้นที่ดินทำกินของเกษตรกรที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่า เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยไม่มีการควบคุม ดังนั้น จังหวัดสุรินทร์ จึงออกประกาศกำหนดเขตควบคุมไฟป่าในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันไฟป่าในช่วงหน้าแล้ง หากราษฎรมีความจำเป็นต้องเผาไร่ เผาวัชพืชในที่ดินทำกินต้องขออนุญาตจากกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านก่อนดำเนินการทุกครั้ง พร้อมกับต้องจัดทำแนวกันไฟและควบคุมไฟไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆ หากราษฎรไม่แจ้งขออนุญาต หรือแจ้งขออนุญาตแล้ว แต่ไม่ได้จัดทำแนวกันไฟ และมิได้ควบคุมไฟป่าให้อยู่ในพื้นที่ที่ตนถือครอง จนเป็นเหตุให้ไฟลุกลามไหม้ป่า ให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ราษฎรที่ฝ่าฝืนโดยเฉียบขาดทุกราย
สำหรับผู้ที่จุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ไฟลุกลามเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์อื่นๆ มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
นอกจากนี้ จังหวัดสุรินทร์ ขอความร่วมมือราษฎร หากพบเห็นไฟไหม้ป่าบริเวณใดให้ช่วยกันดับไฟแต่ต้น หากไฟไหม้รุนแรงให้แจ้ง สถานีควบคุมไฟป่าสุรินทร์ หรือสายด่วนกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หมายเลขโทรศัพท์ 1362
สำหรับผู้ที่จุดไฟเผาป่า หรือปล่อยให้ไฟลุกลามเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์อื่นๆ มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท
นอกจากนี้ จังหวัดสุรินทร์ ขอความร่วมมือราษฎร หากพบเห็นไฟไหม้ป่าบริเวณใดให้ช่วยกันดับไฟแต่ต้น หากไฟไหม้รุนแรงให้แจ้ง สถานีควบคุมไฟป่าสุรินทร์ หรือสายด่วนกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หมายเลขโทรศัพท์ 1362