นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้ประกอบการและผู้ขับรถแท็กซี่สุวรรณภูมิแสดงความเห็นผ่านสื่อมวลชน ว่า การปรับอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ไม่เป็นธรรมกับรถแท็กซี่ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารจากสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะกำหนดให้ต้องใช้มิเตอร์เท่านั้น โดยห้ามมีการจ้างเหมาในกรณีวิ่งระยะทางไกล รวมทั้งไม่มีการเพิ่มค่าบริการด้านสัมภาระผู้โดยสาร อีกทั้งในขณะนี้ยังไม่อนุมัติให้มีการปรับเพิ่มค่าเซอร์ชาร์จเป็น 100 บาท แต่อย่างใด
ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบก ขอยืนยันว่า อัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ที่ปรับในแต่ละครั้งได้มีการพิจารณาด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริง โดยเฉพาะการปรับอัตราค่าโดยสารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่และศูนย์วิทยุ ผู้แทนผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งมีสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา ได้มีการวิเคราะห์ตามสภาพที่เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งยังมีการวิเคราะห์จากต้นทุนการเดินรถแท็กซี่ที่เหมาะสมภายใต้การเดินรถ 300 กิโลเมตรต่อกะ รวมถึงการวิ่งเที่ยวเปล่าของผู้ขับรถ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใช้เชื้อเพลิง CNG และยังคงให้เรียกเก็บค่าโดยสารเพิ่มจากมาตรค่าโดยสารในกรณีที่ใช้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อีก 50 บาท
ส่วนกรณีที่ไม่ให้มีการจ้างเหมาในระยะทางไกล เนื่องจากอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันได้มีการคำนวณปรับค่าโดยสารตามระยะทางให้อยู่แล้ว การกำหนดให้ใช้มิเตอร์ทุกกรณีจะเป็นการสร้างมาตรฐานการใช้บริการตามหลักสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณสนามบิน ซึ่งถือเป็นหน้าต่างของประเทศที่มีส่วนสร้างภาพลักษณ์ต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ยอมรับการให้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ตามหลักมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ได้คำนวณระยะทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังบริเวณพื้นที่ชั้นใน ซึ่งมักมีการใช้บริการจะอยู่ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งในระยะทางดังกล่าวก็ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารใหม่ให้สูงขึ้นจากเดิมเฉลี่ยประมาณกิโลเมตรละ 1 บาท และในระยะทางที่ไกลขึ้นก็มีการปรับสูงขึ้นด้วย ส่วนกรณีสัมภาระผู้โดยสารนั้นขณะนี้กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างพิจารณาศึกษาถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบ เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายด้วย
รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวอีกว่า กรมการขนส่งทางบก ในฐานะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่กำกับและควบคุมการให้บริการด้วยรถโดยสารสาธารณะยังคงมุ่งมั่นจะพัฒนามาตรฐานรถแท็กซี่ให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนภายใต้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยกรมการขนส่งทางบก ได้เตรียมแผนการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบแท็กซี่อย่างยั่งยืน โดยเตรียมนำระบบเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการควบคู่กับการเร่งพัฒนาพนักงานขับรถ และสภาพรถให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้แท็กซี่เป็นอาชีพที่อยู่ในความนิยมของผู้ใช้บริการตลอดไป
ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบก ขอยืนยันว่า อัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ที่ปรับในแต่ละครั้งได้มีการพิจารณาด้วยการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริง โดยเฉพาะการปรับอัตราค่าโดยสารครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ซึ่งคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มผู้ประกอบการรถแท็กซี่และศูนย์วิทยุ ผู้แทนผู้ขับรถแท็กซี่ ซึ่งมีสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษา ได้มีการวิเคราะห์ตามสภาพที่เหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งยังมีการวิเคราะห์จากต้นทุนการเดินรถแท็กซี่ที่เหมาะสมภายใต้การเดินรถ 300 กิโลเมตรต่อกะ รวมถึงการวิ่งเที่ยวเปล่าของผู้ขับรถ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใช้เชื้อเพลิง CNG และยังคงให้เรียกเก็บค่าโดยสารเพิ่มจากมาตรค่าโดยสารในกรณีที่ใช้บริการจากท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อีก 50 บาท
ส่วนกรณีที่ไม่ให้มีการจ้างเหมาในระยะทางไกล เนื่องจากอัตราค่าโดยสารในปัจจุบันได้มีการคำนวณปรับค่าโดยสารตามระยะทางให้อยู่แล้ว การกำหนดให้ใช้มิเตอร์ทุกกรณีจะเป็นการสร้างมาตรฐานการใช้บริการตามหลักสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก โดยเฉพาะบริเวณสนามบิน ซึ่งถือเป็นหน้าต่างของประเทศที่มีส่วนสร้างภาพลักษณ์ต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ยอมรับการให้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ตามหลักมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ได้คำนวณระยะทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังบริเวณพื้นที่ชั้นใน ซึ่งมักมีการใช้บริการจะอยู่ในระยะทางเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งในระยะทางดังกล่าวก็ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารใหม่ให้สูงขึ้นจากเดิมเฉลี่ยประมาณกิโลเมตรละ 1 บาท และในระยะทางที่ไกลขึ้นก็มีการปรับสูงขึ้นด้วย ส่วนกรณีสัมภาระผู้โดยสารนั้นขณะนี้กรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างพิจารณาศึกษาถึงข้อดีข้อเสียและผลกระทบ เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายด้วย
รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวอีกว่า กรมการขนส่งทางบก ในฐานะเป็นหน่วยงานภาครัฐที่กำกับและควบคุมการให้บริการด้วยรถโดยสารสาธารณะยังคงมุ่งมั่นจะพัฒนามาตรฐานรถแท็กซี่ให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนภายใต้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยกรมการขนส่งทางบก ได้เตรียมแผนการแก้ปัญหาและพัฒนาระบบแท็กซี่อย่างยั่งยืน โดยเตรียมนำระบบเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการควบคู่กับการเร่งพัฒนาพนักงานขับรถ และสภาพรถให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อยกระดับให้แท็กซี่เป็นอาชีพที่อยู่ในความนิยมของผู้ใช้บริการตลอดไป