การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้ เริ่มเวลา 10.00 น. โดยมีวาระพิจารณาเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่ง กรณีไม่ระงับยับยั้ง ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นการรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. (ผู้กล่าวหา) และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา
ทั้งนี้ นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ได้แถลงปิดสำนวน โดยยืนยันว่า ป.ป.ช.ให้ความเป็นธรรมในการไต่สวนคดีตามหลักนิติธรรม และกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายทุกประการ ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวถือเป็นโครงการประชานิยม ใช้กลไกการเมืองให้ชนะการเลือกตั้ง มีวาระซ่อนเร้น สร้างให้เกิดกระบวนการทุจริตเชิงนโยบาย และจากการไต่สวนของ ป.ป.ช.พบว่าทุกขั้นตอนมีการดำเนินกระบวนการ ยากต่อการตรวจสอบ เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง ซึ่งถือเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย โดยยืนยันว่า ป.ป.ช.มีหลักฐานชัดเจน
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า การให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาตอบข้อซักถาม ไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่น มีความจริงใจที่จะให้สมาชิกเข้าใจรายละเอียดของโครงการ และเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากสมาชิก สนช.
ทั้งนี้ เห็นว่ามีความพยายาม โดยใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มาตัดสิทธิทางการเมืองของตนเอง ทั้งที่รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปแล้ว ถือเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม เป็นการถอดถอนที่ซ้ำซ้อนอย่างยิ่ง อีกทั้งสำนวนไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดการทุจริต
ภายหลังแถลงปิดสำนวนในวันนี้แล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นัดลงมติถอดถอนหรือไม่ ในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.) ทั้งสำนวนของนายนิคม ไวยรัชพานิช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ทั้งนี้ นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ได้แถลงปิดสำนวน โดยยืนยันว่า ป.ป.ช.ให้ความเป็นธรรมในการไต่สวนคดีตามหลักนิติธรรม และกระบวนการอันชอบด้วยกฎหมายทุกประการ ซึ่งโครงการรับจำนำข้าวถือเป็นโครงการประชานิยม ใช้กลไกการเมืองให้ชนะการเลือกตั้ง มีวาระซ่อนเร้น สร้างให้เกิดกระบวนการทุจริตเชิงนโยบาย และจากการไต่สวนของ ป.ป.ช.พบว่าทุกขั้นตอนมีการดำเนินกระบวนการ ยากต่อการตรวจสอบ เพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง ซึ่งถือเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย โดยยืนยันว่า ป.ป.ช.มีหลักฐานชัดเจน
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า การให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาตอบข้อซักถาม ไม่มีเจตนาเป็นอย่างอื่น มีความจริงใจที่จะให้สมาชิกเข้าใจรายละเอียดของโครงการ และเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากสมาชิก สนช.
ทั้งนี้ เห็นว่ามีความพยายาม โดยใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มาตัดสิทธิทางการเมืองของตนเอง ทั้งที่รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปแล้ว ถือเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม เป็นการถอดถอนที่ซ้ำซ้อนอย่างยิ่ง อีกทั้งสำนวนไม่ปรากฏชัดเจนว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิดการทุจริต
ภายหลังแถลงปิดสำนวนในวันนี้แล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นัดลงมติถอดถอนหรือไม่ ในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.) ทั้งสำนวนของนายนิคม ไวยรัชพานิช นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร