การแถลงการณ์ปิดสำนวนด้วยวาจาคดีถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ออกจากตำแหน่ง กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.ของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เริ่มที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ย้ำว่ามีอำนาจในการดำเนินการ เพราะมีการกระทำทุจริต ส่อจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ตัดสิทธิการทำหน้าที่ของสมาชิกไม่ให้อภิปราย รวบรัดเพื่อประโยชน์ฝ่ายข้างมากโดยไม่เป็นธรรม ส่อผลเสียหายต่อระบบการเมืองการปกครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ซึ่งกระบวนการถอดถอนเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปประเทศ
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช แถลงย้ำว่า เป็นข้อกล่าวหาในอนาคต ที่ว่าจะได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีสิทธิกลับมาลงสมัคร ส.ว.อีกสมัย ซึ่งตนยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะกลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ ขณะเดียวกัน ในอดีตเคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว ทั้งมาตรา 190 และประเด็นเรื่องที่มา ส.ส.จากเขตใหญ่ เป็นเขตเล็ก ก็ไม่มีปัญหาใดๆ
จากนั้น เป็นวาระแถลงปิดสำนวนคดีถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า นายสมศักดิ์ ไม่ได้เดินทางมา และไม่ได้ส่งเอกสารปิดสำนวนคดีเป็นลายลักษณ์อักษรมาให้ สนช. ดังนั้น ป.ป.ช.จะแถลงปิดคดีฝ่ายเดียว
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช แถลงย้ำว่า เป็นข้อกล่าวหาในอนาคต ที่ว่าจะได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีสิทธิกลับมาลงสมัคร ส.ว.อีกสมัย ซึ่งตนยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะกลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ ขณะเดียวกัน ในอดีตเคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้ว ทั้งมาตรา 190 และประเด็นเรื่องที่มา ส.ส.จากเขตใหญ่ เป็นเขตเล็ก ก็ไม่มีปัญหาใดๆ
จากนั้น เป็นวาระแถลงปิดสำนวนคดีถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า นายสมศักดิ์ ไม่ได้เดินทางมา และไม่ได้ส่งเอกสารปิดสำนวนคดีเป็นลายลักษณ์อักษรมาให้ สนช. ดังนั้น ป.ป.ช.จะแถลงปิดคดีฝ่ายเดียว