นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2558 เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4 โดยการลงทุนจากภาครัฐและการท่องเที่ยว จะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
นอกจากนั้น โอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่เป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม มองว่าการส่งออกของไทยยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการควรจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ใน 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันอยู่ที่ 32.86 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การถูกตัดสิทธิ GSP ซึ่งผลกระทบจากการที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ในตลาด EU แคนาดา และตุรกี ทำให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผลกระทบจากการปรับลด GSP ของสินค้าไทย 18 รายการแรกที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป จะได้รับผลกระทบด้านภาษีรวมกัน มูลค่า 86.88 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับสินค้าไทยที่ได้รับผลกระทบด้านภาษีมากที่สุด ได้แก่ กุ้งปรุงแต่ง รองลงมา คือ ยานยนต์ขนส่ง และยางนอกรถยนต์ และสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดลง จะส่งผลดีต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง และจะทำให้ผู้บริโภคเหลือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน จะมีกำลังซื้อที่ลดต่ำลง อันเนื่องมาจากรายได้ จากการขายน้ำมันที่ลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมองหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดปัจจุบัน ที่อาจมีกำลังซื้อลดน้อยลง
ขณะที่นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการและโฆษกหอการค้าไทย กล่าวว่า ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมต่อปัจจัยเสี่ยงด้านการส่งออก ที่ควรต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยการพัฒนามาตรฐานการผลิตสินค้า พัฒนาสร้างตราสินค้าของไทย และให้ความสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมีการร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อทำการวิจัยและพัฒนา ใช้องค์ความรู้สร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และพัฒนาศักยภาพของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน
นอกจากนั้น โอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยที่เป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตาม มองว่าการส่งออกของไทยยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการควรจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ใน 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ปัจจุบันอยู่ที่ 32.86 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การถูกตัดสิทธิ GSP ซึ่งผลกระทบจากการที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP ในตลาด EU แคนาดา และตุรกี ทำให้เกิดผลกระทบต่อการส่งออก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผลกระทบจากการปรับลด GSP ของสินค้าไทย 18 รายการแรกที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป จะได้รับผลกระทบด้านภาษีรวมกัน มูลค่า 86.88 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับสินค้าไทยที่ได้รับผลกระทบด้านภาษีมากที่สุด ได้แก่ กุ้งปรุงแต่ง รองลงมา คือ ยานยนต์ขนส่ง และยางนอกรถยนต์ และสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันที่ลดลง จะส่งผลดีต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง และจะทำให้ผู้บริโภคเหลือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน จะมีกำลังซื้อที่ลดต่ำลง อันเนื่องมาจากรายได้ จากการขายน้ำมันที่ลดลง ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมองหาตลาดใหม่ เพื่อทดแทนตลาดปัจจุบัน ที่อาจมีกำลังซื้อลดน้อยลง
ขณะที่นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการและโฆษกหอการค้าไทย กล่าวว่า ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อมต่อปัจจัยเสี่ยงด้านการส่งออก ที่ควรต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด โดยการพัฒนามาตรฐานการผลิตสินค้า พัฒนาสร้างตราสินค้าของไทย และให้ความสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมีการร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อทำการวิจัยและพัฒนา ใช้องค์ความรู้สร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และพัฒนาศักยภาพของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน