กรมปศุสัตว์ยันตรวจไม่พบ “เชื้ออหิวาต์เทียม” ในเลือดไก่ และโรงเชือดไก่ ย้ำโรงเชือดมีการคุมคุณภาพ ได้มาตรฐานการผลิต ต้มเลือดจนสุกก่อนขนส่งทุกครั้ง มั่นใจล้านเปอร์เซ็นต์หากมีเชื้อก็ตายหมด ระบุแต่ก่อนประชาชนรับประทานต้องต้มสุกอีกครั้ง
วันนี้ (15 ม.ค.) สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกรมปศุศัตว์ แถลงข่าวเรื่อง “เลือดไก่อันตรายจริงหรือ” หลังกรมควบคุมโรค (คร.) พบการปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์เทียมในเลือดไก่ตั้งแต่ขั้นตอนการเชือด การขนส่ง ไปจนถึงตลาดขายเลือดไก่ ทั้งนี้ นสพ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบโรงเชือดไก่ที่ คร.ระบุว่าพบเชื้ออหิวาต์เทียม และโรงเชือดไก่อีก 27 แห่ง ต่างไม่พบการปนเปื้อนเชื้อแต่อย่างใด แต่จะตรวจสอบต่อไปอีกสักระยะและถี่ขึ้นเพื่อความมั่นใจ ทั้งนี้ ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่ เพราะทุกคนทราบดีว่าเชื้อไม่ได้อยู่ในตัวไก่ สำหรับประชาชนขอให้ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
นสพ.สุเจตน์ ชื่นชม รองคณบดีคณะเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพการผลิตในโรงงาน กล่าวว่า โรงเชือดไก่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานทุกขั้นตอน โดยไก่ที่เลือกเข้าโรงงานเชือดต้องไม่ใช่ไก่ป่วย จากนั้นจะทำให้สลบแล้วจึงเชือดให้เลือดไก่ไหลลงไปในรางสเตนเลส แล้วจึงกรองลงสู่ถ้วยสแตนเลส จากนั้นใส่น้ำเกลือ 10% เพื่อให้เลือดแข็งตัวและคงสภาพ ก่อนนำไปต้มในน้ำเดือดที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุม จากนั้นจะสุ่มนำเลือดก้อนบนสุด ตรงกลาง และด้านล่างสุดมาตรวจด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยมาตรฐานบริเวณใจกลางก้อนเลือดจะต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส จากนั้นนำมาล้างด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิ 0 - 4 องศาเซลเซียส ก่อนจะแพ็กส่งไปยังปลายทาง ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำจุดต่างๆ จะต้องผ่านการอบรมและตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากมีไข้ ท้องเสีย หรือเป็นหวัดจะไม่ให้เข้ามาในสายการผลิต
“นักระบาดวิทยาบอกว่าเจอเชื้ออหิวาต์เทียมในรางเลือด ผมยืนยันล้านเปอร์เซ็นต์ว่า เมื่อผ่านกระบวนการต้มด้วยอุณหภูมิคงที่ 80 องศาเซลเซียสแล้วเชื้อตายหมด เพราะฉะนั้นไม่น่าจะเกิดเชื้อได้ในกระบวนการของโรงเชือด ส่วนการปนเปื้อนระหว่างขนส่งยังไม่แน่ใจ ซึ่งโรงงานบางแห่งอาจจะแช่ด้วยน้ำเกลือ บางแห่งอาจจะแช่ด้วยน้ำแข็ง อย่างที่ทราบกันดีว่าในน้ำแข็งก็มีเชื้อโรคอยู่เช่นกัน” นสพ.สุเจตน์ กล่าวและว่า แม้จะมีการต้มเลือดจนสุกตั้งแต่กระบวนการของโรงเชือด แต่ยังไม่ถือว่าเป็นอาหารพร้อมรับประทาน จึงควรปรุงให้สุกอีกครั้งก่อนรับประทานด้วย
สพญ.พัชรี ทองคำคูณ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้ทำการตรวจหาโรคจากมูลไก่ และลำไส้ไก่มาตลอด ไม่เคยพบเชื้อดังกล่าว เพราะฉะนั้นการปนเปื้อนอาจจะมาจากแหล่งอื่น เช่น การขนส่ง หรือการปรุงเป็นอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ จึงเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นเรื่องจริงที่ คร. ตรวจพบเชื้ออหิวาต์เทียม แต่ก็ต้องมาพิสูจน์อีกเยอะว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ เพราะเชื้อดังกล่าวมีหลายร้อยสายพันธุ์ ซึ่งบางตัวก่อโรค บางตัวไม่ก่อโรค
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15 ม.ค.) สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกรมปศุศัตว์ แถลงข่าวเรื่อง “เลือดไก่อันตรายจริงหรือ” หลังกรมควบคุมโรค (คร.) พบการปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์เทียมในเลือดไก่ตั้งแต่ขั้นตอนการเชือด การขนส่ง ไปจนถึงตลาดขายเลือดไก่ ทั้งนี้ นสพ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบโรงเชือดไก่ที่ คร.ระบุว่าพบเชื้ออหิวาต์เทียม และโรงเชือดไก่อีก 27 แห่ง ต่างไม่พบการปนเปื้อนเชื้อแต่อย่างใด แต่จะตรวจสอบต่อไปอีกสักระยะและถี่ขึ้นเพื่อความมั่นใจ ทั้งนี้ ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไก่ เพราะทุกคนทราบดีว่าเชื้อไม่ได้อยู่ในตัวไก่ สำหรับประชาชนขอให้ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
นสพ.สุเจตน์ ชื่นชม รองคณบดีคณะเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพการผลิตในโรงงาน กล่าวว่า โรงเชือดไก่มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานทุกขั้นตอน โดยไก่ที่เลือกเข้าโรงงานเชือดต้องไม่ใช่ไก่ป่วย จากนั้นจะทำให้สลบแล้วจึงเชือดให้เลือดไก่ไหลลงไปในรางสเตนเลส แล้วจึงกรองลงสู่ถ้วยสแตนเลส จากนั้นใส่น้ำเกลือ 10% เพื่อให้เลือดแข็งตัวและคงสภาพ ก่อนนำไปต้มในน้ำเดือดที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุม จากนั้นจะสุ่มนำเลือดก้อนบนสุด ตรงกลาง และด้านล่างสุดมาตรวจด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยมาตรฐานบริเวณใจกลางก้อนเลือดจะต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส จากนั้นนำมาล้างด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิ 0 - 4 องศาเซลเซียส ก่อนจะแพ็กส่งไปยังปลายทาง ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำจุดต่างๆ จะต้องผ่านการอบรมและตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากมีไข้ ท้องเสีย หรือเป็นหวัดจะไม่ให้เข้ามาในสายการผลิต
“นักระบาดวิทยาบอกว่าเจอเชื้ออหิวาต์เทียมในรางเลือด ผมยืนยันล้านเปอร์เซ็นต์ว่า เมื่อผ่านกระบวนการต้มด้วยอุณหภูมิคงที่ 80 องศาเซลเซียสแล้วเชื้อตายหมด เพราะฉะนั้นไม่น่าจะเกิดเชื้อได้ในกระบวนการของโรงเชือด ส่วนการปนเปื้อนระหว่างขนส่งยังไม่แน่ใจ ซึ่งโรงงานบางแห่งอาจจะแช่ด้วยน้ำเกลือ บางแห่งอาจจะแช่ด้วยน้ำแข็ง อย่างที่ทราบกันดีว่าในน้ำแข็งก็มีเชื้อโรคอยู่เช่นกัน” นสพ.สุเจตน์ กล่าวและว่า แม้จะมีการต้มเลือดจนสุกตั้งแต่กระบวนการของโรงเชือด แต่ยังไม่ถือว่าเป็นอาหารพร้อมรับประทาน จึงควรปรุงให้สุกอีกครั้งก่อนรับประทานด้วย
สพญ.พัชรี ทองคำคูณ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้ทำการตรวจหาโรคจากมูลไก่ และลำไส้ไก่มาตลอด ไม่เคยพบเชื้อดังกล่าว เพราะฉะนั้นการปนเปื้อนอาจจะมาจากแหล่งอื่น เช่น การขนส่ง หรือการปรุงเป็นอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ จึงเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรค อย่างไรก็ตาม อาจจะเป็นเรื่องจริงที่ คร. ตรวจพบเชื้ออหิวาต์เทียม แต่ก็ต้องมาพิสูจน์อีกเยอะว่าเป็นเชื้อสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่ เพราะเชื้อดังกล่าวมีหลายร้อยสายพันธุ์ ซึ่งบางตัวก่อโรค บางตัวไม่ก่อโรค
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่