ในช่วงบ่ายวันนี้ (20 ม.ค.) คณะกรรมาธิการกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) จะมีการประชุมกันเพื่อกำหนดแนวทางลงมติถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา และอดีตประธานวุฒิสภาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
น.พ.เจษฎ์ ศิรทรานนท์ เลขาธิการวิป สนช.กล่าวว่า การลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีข้อบังคับการประชุมที่ระบุไว้อย่างละเอียดชัดเจนว่าต้องลงมติโดยลับ โดยการเข้าคูหากากบาท และต้องมีคณะกรรมการนำคะแนน จำนวน 10 คน ซึ่งจะต้องปฏิบัติไปตามนี้ แต่จะหารือกันว่าทำอย่างไรให้การลงคะแนนเป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่ซ้ำซ้อน โดยอาจให้ลงคะแนนในส่วนของอดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานวุฒิสภาในครั้งเดียวกัน
ทั้งนี้ ไม่กังวลกรณีที่มีการระบุว่า อาจมีการฟ้องร้อง สนช.ที่ลงมติในการถอดถอนครั้งนี้ เพราะเป็นการลงคะแนนลับและเชื่อว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจของ สนช. ซึ่งเชื่อว่าหลังจากฟังคำแถลงปิดคดีในสัปดาห์นี้แล้วจะทำให้บางคนที่ยังมีความลังเลจะมีความชัดเจนมากขึ้น และขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่มีการส่งสัญญาณหรือประสานแนวทางการลงมติมาแต่อย่างใด
สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ (20 ม.ค.) เป็นการพิจารณาต่อในภาค 3 ว่าด้วยนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เรื่องที่คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะกำหนดที่มาให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ผู้ทรงคุณวุฒิจากการเมือง ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสมัชชาคุณธรรมที่สภาปฏิรูปแห่งชาติจะจัดตั้งขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีกรรมาธิการฯ ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการตั้งสมัชชาคุณธรรม เพราะไม่มั่นใจว่าจะตั้งได้สำเร็จ หรือว่าซ้ำซ้อนกับองค์กรอื่นที่ตั้งมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ดังนั้น จึงเสนอให้พัฒนาองค์กรให้มีอยู่เข้มแข็งกว่าเดิมจะดีกว่า
น.พ.เจษฎ์ ศิรทรานนท์ เลขาธิการวิป สนช.กล่าวว่า การลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีข้อบังคับการประชุมที่ระบุไว้อย่างละเอียดชัดเจนว่าต้องลงมติโดยลับ โดยการเข้าคูหากากบาท และต้องมีคณะกรรมการนำคะแนน จำนวน 10 คน ซึ่งจะต้องปฏิบัติไปตามนี้ แต่จะหารือกันว่าทำอย่างไรให้การลงคะแนนเป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่ซ้ำซ้อน โดยอาจให้ลงคะแนนในส่วนของอดีตประธานรัฐสภาและอดีตประธานวุฒิสภาในครั้งเดียวกัน
ทั้งนี้ ไม่กังวลกรณีที่มีการระบุว่า อาจมีการฟ้องร้อง สนช.ที่ลงมติในการถอดถอนครั้งนี้ เพราะเป็นการลงคะแนนลับและเชื่อว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจของ สนช. ซึ่งเชื่อว่าหลังจากฟังคำแถลงปิดคดีในสัปดาห์นี้แล้วจะทำให้บางคนที่ยังมีความลังเลจะมีความชัดเจนมากขึ้น และขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่มีการส่งสัญญาณหรือประสานแนวทางการลงมติมาแต่อย่างใด
สำหรับการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้ (20 ม.ค.) เป็นการพิจารณาต่อในภาค 3 ว่าด้วยนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เรื่องที่คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะกำหนดที่มาให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ผู้ทรงคุณวุฒิจากการเมือง ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากสมัชชาคุณธรรมที่สภาปฏิรูปแห่งชาติจะจัดตั้งขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีกรรมาธิการฯ ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการตั้งสมัชชาคุณธรรม เพราะไม่มั่นใจว่าจะตั้งได้สำเร็จ หรือว่าซ้ำซ้อนกับองค์กรอื่นที่ตั้งมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ดังนั้น จึงเสนอให้พัฒนาองค์กรให้มีอยู่เข้มแข็งกว่าเดิมจะดีกว่า