ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้เป็นการพิจารณาภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเริ่มหมวดศาลและกระบวนยุติธรรม ซึ่งในบททั่วไปได้บัญญัติหลักการของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องกรอบการพิจารณาคดี ต้องกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้การพิจารณาล่าช้า มีการวางบทบัญญัติเรื่องคู่ความ ศาล และทนายความ รวมถึงคำพิพากษา จะต้องแสดงเหตุผลประกอบด้วย ซึ่งมาตรา 1 ในวรรคสอง และสาม มีการบัญญัติคำขึ้นมาใหม่ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ ในมาตรา 2 มีบัญญัติให้ศาลเปิดเผยคำพิพากษาให้ทราบเป็นการทั่วไป และให้ประชาชนเข้าถึงโดยง่าย ควรจะมีกรอบระยะในการพิจารณาที่ชัดเจน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่า หากเปิดให้ประชาชนคัดคำพิพากษาได้ทราบเป็นการทั่วไป อาจทำให้กระทบสิทธิของบุคคลอื่น โดยเฉพาะเรื่องภายในครอบครัว
ขณะที่มาตรา 3 เป็นเรื่องหลักนิติธรรม มีการเขียนไว้เป็นแนวทางว่า หลักนิติธรรมเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญ 5 ข้อ ประกอบด้วย หลักว่าด้วยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย หลักการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการปกป้องสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะไม่สามารถย้อนหลังเอาผิดได้ในคดีอาญา และศาลต้องเป็นอิสระ คุ้มครองสิทธิประชาชนได้
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีการถกเถียงกันมากในประเด็นการเอาผิดย้อนหลังในคดีอาญา ว่า ควรจะเขียนให้ครอบคลุมถึงคดีประเภทอื่นด้วย
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวย้ำต่อที่ประชุมถึงเนื้อหาของร่างรัฐธรมนูญในภาค 3 ที่มีเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรให้เร่งรัดกระบวนการพิจารณา เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่วางไว้
นอกจากนี้ ในมาตรา 2 มีบัญญัติให้ศาลเปิดเผยคำพิพากษาให้ทราบเป็นการทั่วไป และให้ประชาชนเข้าถึงโดยง่าย ควรจะมีกรอบระยะในการพิจารณาที่ชัดเจน ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่า หากเปิดให้ประชาชนคัดคำพิพากษาได้ทราบเป็นการทั่วไป อาจทำให้กระทบสิทธิของบุคคลอื่น โดยเฉพาะเรื่องภายในครอบครัว
ขณะที่มาตรา 3 เป็นเรื่องหลักนิติธรรม มีการเขียนไว้เป็นแนวทางว่า หลักนิติธรรมเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญ 5 ข้อ ประกอบด้วย หลักว่าด้วยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย หลักการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการปกป้องสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะไม่สามารถย้อนหลังเอาผิดได้ในคดีอาญา และศาลต้องเป็นอิสระ คุ้มครองสิทธิประชาชนได้
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีการถกเถียงกันมากในประเด็นการเอาผิดย้อนหลังในคดีอาญา ว่า ควรจะเขียนให้ครอบคลุมถึงคดีประเภทอื่นด้วย
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวย้ำต่อที่ประชุมถึงเนื้อหาของร่างรัฐธรมนูญในภาค 3 ที่มีเป็นจำนวนมาก จึงเห็นควรให้เร่งรัดกระบวนการพิจารณา เพื่อให้การดำเนินการแล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่วางไว้