นายบุญเจือ สมทิพย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ศูนย์บริหารการแก้ไขปัญหาสินค้ายางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจรจังหวัดตรัง ได้ดำเนินงานตามแนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบและโครงการแก้ไขปัญหายางพาราของจังหวัดตรัง โดยในส่วนของโครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง มีเกษตรกรผู้ปลูกยางพารากลุ่มเป้าหมายได้ขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 49,471 ราย ส่งรายชื่อให้กับทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ไปแล้วจำนวน 37,248 ราย และ ธ.ก.ส.ได้จ่ายเงินให้กับเกษตรกรไปแล้ว จำนวน 33,361 ราย วงเงิน 303,000,000 บาท คิดเป็น 99.88 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากโครงการชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ยังมีโครงการสนับสนุนทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง 10,000 ล้านบาท มีสถาบันเกษตรกรในจังหวัดตรังเข้าร่วมโครงการ 28 แห่ง วงเงินยื่นกู้ 417.20 ล้านบาท อนุมัติแล้ว 28 แห่ง วงเงินอนุมัติ 372.9 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา 5,000 ล้านบาท คณะกรรมการฯระดับจังหวัดอนุมัติให้เกษตรกรที่ยื่นเอกสารจำนวน 16 แห่ง 17 โครงการ วงเงินยื่นกู้ 178.88 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากโครงการชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ยังมีโครงการสนับสนุนทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยาง 10,000 ล้านบาท มีสถาบันเกษตรกรในจังหวัดตรังเข้าร่วมโครงการ 28 แห่ง วงเงินยื่นกู้ 417.20 ล้านบาท อนุมัติแล้ว 28 แห่ง วงเงินอนุมัติ 372.9 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา 5,000 ล้านบาท คณะกรรมการฯระดับจังหวัดอนุมัติให้เกษตรกรที่ยื่นเอกสารจำนวน 16 แห่ง 17 โครงการ วงเงินยื่นกู้ 178.88 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการ