จากกรณี สำนักข่าวต่างประเทศรายงานข่าว นักท่องเที่ยวหญิงสาวชาวไทย พลัดตกหน้าผาบริเวณ "วัดทักซัง" ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาหิมาลัย ทางตะวันตกของประเทศภูฏาน เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยทางสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงทิมพู ประสานงานขอรับศพผู้เสียชีวิตกลับประเทศ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาแล้วนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 4 ม.ค. รายงานข่าวจาก กระทรวงต่างประเทศแจ้งว่า ศพหญิงสาวชาวไทยที่พลัดตกเหวนั้น ได้ถูกส่งมายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ตายมีชื่อว่า "นางนวรัตน์ บวรจิรภัทร์" อายุ 54 ปี เป็นเศรษฐีนีเจ้าของบริษัท หลุยส์เครนแอนด์ทรานสปร์ต จำกัด ตั้งอยู่ย่านคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ประกอบธุรกิจบริการให้เช่า ติดตั้ง ขนย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อการก่อสร้างด้วยรถเครน รถฟอร์คลิฟต์ รวมถึงการให้บริการขนส่งด้วยรถเทรเลอร์ และรถบรรทุกต่าง ๆ
ส่วนจุดเกิดเหตุ เป็นทางเดินแคบ ๆ ถัดมาจากตัววัด ด้านตรงข้ามที่สามารถมองเห็นวัดได้ และยังเป็นที่ตั้งของ ธงอธิฐาน และอาคารที่มีการจุดตะเกียงน้ำมันไว้ด้านใน และยังมีธารน้ำไหลตามธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเจ้าหน้าทางวัด ได้ให้เหตุผลที่ไม่ทำรั้วกั้นว่าในจุดดังกล่าวว่า ไม่มีที่ว่างมากพอ และหากทำรั้วก็จะส่งผลกระทบต่อทางน้ำไหลจากภูเขา ทำให้น้ำเปลี่ยนเส้นทางได้
ขณะที่พยานเห็นเหตุการณ์ อ้างว่า ผู้ตายพยายามหามุมภาพที่ดีที่สุด โดยไม่ทันสังเกตว่า บริเวณดังกล่าวไม่มีราวหรือรั้วกั้น กระทั่งมีการเอนตัวพิงเสาธง ทำให้พลัดตกลงไปที่ความสูง 300-400 เมตร ภายหลังเกิดเหตุมีการแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมง จึงพบร่างผู้เสียชีวิตที่ก้นเหว
ขณะเดียวกัน "วัดทักซัง" ช่วงปีที่ผ่านมา เคยมีประวัติ นักท่องเที่ยวไปเสียชีวิตมาแล้ว 3 ราย รายแรกเป็นตำรวจ ตกลงมาจากจุดที่สูงที่สุดอยู่เหนือที่เกิดเหตุในคราวนี้ราว 100 เมตร รายที่ 2 เป็นนักท่องเที่ยวชาวอินเดียและชาวจีน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนเสียชีวิตจากสภาวะหัวใจล้มเหลวในการเดินขึ้นเขา
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 4 ม.ค. รายงานข่าวจาก กระทรวงต่างประเทศแจ้งว่า ศพหญิงสาวชาวไทยที่พลัดตกเหวนั้น ได้ถูกส่งมายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ตายมีชื่อว่า "นางนวรัตน์ บวรจิรภัทร์" อายุ 54 ปี เป็นเศรษฐีนีเจ้าของบริษัท หลุยส์เครนแอนด์ทรานสปร์ต จำกัด ตั้งอยู่ย่านคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ประกอบธุรกิจบริการให้เช่า ติดตั้ง ขนย้ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อการก่อสร้างด้วยรถเครน รถฟอร์คลิฟต์ รวมถึงการให้บริการขนส่งด้วยรถเทรเลอร์ และรถบรรทุกต่าง ๆ
ส่วนจุดเกิดเหตุ เป็นทางเดินแคบ ๆ ถัดมาจากตัววัด ด้านตรงข้ามที่สามารถมองเห็นวัดได้ และยังเป็นที่ตั้งของ ธงอธิฐาน และอาคารที่มีการจุดตะเกียงน้ำมันไว้ด้านใน และยังมีธารน้ำไหลตามธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งเจ้าหน้าทางวัด ได้ให้เหตุผลที่ไม่ทำรั้วกั้นว่าในจุดดังกล่าวว่า ไม่มีที่ว่างมากพอ และหากทำรั้วก็จะส่งผลกระทบต่อทางน้ำไหลจากภูเขา ทำให้น้ำเปลี่ยนเส้นทางได้
ขณะที่พยานเห็นเหตุการณ์ อ้างว่า ผู้ตายพยายามหามุมภาพที่ดีที่สุด โดยไม่ทันสังเกตว่า บริเวณดังกล่าวไม่มีราวหรือรั้วกั้น กระทั่งมีการเอนตัวพิงเสาธง ทำให้พลัดตกลงไปที่ความสูง 300-400 เมตร ภายหลังเกิดเหตุมีการแจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมง จึงพบร่างผู้เสียชีวิตที่ก้นเหว
ขณะเดียวกัน "วัดทักซัง" ช่วงปีที่ผ่านมา เคยมีประวัติ นักท่องเที่ยวไปเสียชีวิตมาแล้ว 3 ราย รายแรกเป็นตำรวจ ตกลงมาจากจุดที่สูงที่สุดอยู่เหนือที่เกิดเหตุในคราวนี้ราว 100 เมตร รายที่ 2 เป็นนักท่องเที่ยวชาวอินเดียและชาวจีน โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนเสียชีวิตจากสภาวะหัวใจล้มเหลวในการเดินขึ้นเขา