นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนพฤศจิกายน 2557 กลับมาติดลบที่ร้อยละ 1 มีมูลค่าการส่งอออก 18,568 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการหดตัวของเศรษฐกิจในตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปที่ยังเปราะบาง อีกทั้งการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน ติดลบร้อยละ 8.5 ตามการลดลงของการส่งออกสินค้ายางพาราที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤศจิกายนติดลบ ร้อยละ 18.2 และการหดตัวของอาหารทะเลแช่งแข็งแปรรูป ขณะที่การส่งออกสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.7 ทำให้ 11 เดือน มีมูลค่าส่งออกรวม 208,188 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบร้อยละ 0.42 ด้านการนำเข้าเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่า 18,646 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบร้อยละ 3.46 กลับมาขาดดุลการค้ารวม 78 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมนี้ หากสามารถผลักดันการส่งออกให้ได้ 19,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่งออกในปีนี้ไม่ติดลบ แต่หากส่งออกได้เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาคือ 18,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้ภาพรวมส่งออกปีนี้ติดลบที่ร้อยละ 0.4
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากทูตพาณิชย์ต่างประเทศทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับทิศทางราคาพลังงานที่ลดลง ว่าจะส่งผลกระทบต่อกับการส่งออกในตลาดใดบ้าง ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้จะหารือร่วมกับภาคเอกชนผู้ส่งออกก่อนเสนอ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สำหรับเป้าหมายการส่งออกปีหน้ายังคงเป้าเดิมขยายตัวที่ร้อยละ 4 พร้อมระบุ ยางพารา และน้ำมัน ยังเป็นสินค้าที่น่าเป็นห่วงในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมนี้ หากสามารถผลักดันการส่งออกให้ได้ 19,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้การส่งออกในปีนี้ไม่ติดลบ แต่หากส่งออกได้เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาคือ 18,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้ภาพรวมส่งออกปีนี้ติดลบที่ร้อยละ 0.4
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากทูตพาณิชย์ต่างประเทศทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับทิศทางราคาพลังงานที่ลดลง ว่าจะส่งผลกระทบต่อกับการส่งออกในตลาดใดบ้าง ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้จะหารือร่วมกับภาคเอกชนผู้ส่งออกก่อนเสนอ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สำหรับเป้าหมายการส่งออกปีหน้ายังคงเป้าเดิมขยายตัวที่ร้อยละ 4 พร้อมระบุ ยางพารา และน้ำมัน ยังเป็นสินค้าที่น่าเป็นห่วงในปีหน้า