เกาหลีใต้เมื่อวันพฤหัสบดี(25ธ.ค.) ยืนยันว่าเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อผู้ปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศเมื่อเร็วๆนี้ คงไม่อาจก่อความขัดข้องใดๆต่อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 23 แห่ง แจงระบบควบคุมแยกจากเครือข่ายภายนอก ดังนั้นการเจาะเข้าระบบจึงเป็นไปไม่ได้
การออกแบบและคู่มือปฏิบัติงานของเตาปฏิกรณ์ 2 แห่งถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทวิตเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เช่นเดียวกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานราวๆ 10,000 คนของบริษัทโคเรีย ไฮโดร แอนด์ นิวเคลียร์ พาวเวอร์ (KHNP)
เจ้าหน้าที่เผยในวันอังคาร(23ธ.ค.) ว่าเกาหลีใต้ยกระดับรักษาความปลอดภัยตามหลังการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว ด้วยหน่วยสงครามไซเบอร์ของกระทรวงกลาโหม เพิ่มระดับการเฝ้าระวังการโจมตีจากเกาหลีเหนือและเหล่ามือแฮกเกอร์จากที่อื่นๆ
อย่างไรก็ตามทำเนียบประธานาธิบดีในวันพฤหัสบดี(25ธ.ค.) ออกมาปัดเป่ากระแสความวิตกกังวล กรณีพวกแฮกเกอร์อาจเจาะเข้าระบบและก่อความขัดข้องแก่โรงงานนิวเคลียร์ของประเทศ ด้วยระบุว่า "ระบบควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของประเทศแยกจากเครือข่ายภายนอก และโดยพื้นฐานแล้ว การเจาะเข้าระบบจึงเป็นไปไม่ได้"
การออกแบบและคู่มือปฏิบัติงานของเตาปฏิกรณ์ 2 แห่งถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนผ่านทวิตเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เช่นเดียวกับข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานราวๆ 10,000 คนของบริษัทโคเรีย ไฮโดร แอนด์ นิวเคลียร์ พาวเวอร์ (KHNP)
เจ้าหน้าที่เผยในวันอังคาร(23ธ.ค.) ว่าเกาหลีใต้ยกระดับรักษาความปลอดภัยตามหลังการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าว ด้วยหน่วยสงครามไซเบอร์ของกระทรวงกลาโหม เพิ่มระดับการเฝ้าระวังการโจมตีจากเกาหลีเหนือและเหล่ามือแฮกเกอร์จากที่อื่นๆ
อย่างไรก็ตามทำเนียบประธานาธิบดีในวันพฤหัสบดี(25ธ.ค.) ออกมาปัดเป่ากระแสความวิตกกังวล กรณีพวกแฮกเกอร์อาจเจาะเข้าระบบและก่อความขัดข้องแก่โรงงานนิวเคลียร์ของประเทศ ด้วยระบุว่า "ระบบควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของประเทศแยกจากเครือข่ายภายนอก และโดยพื้นฐานแล้ว การเจาะเข้าระบบจึงเป็นไปไม่ได้"